วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555

ความต้องการธาตุอาหารของปาล์ม

ในการทำสวนปาล์มนั้นการจัดการเรื่องธาตุอาหาร หรือปุ๋ย นับว่ามีความสำคัญมากที่สุด (โดยค่าใช้จ่ายในการจัดการสวนปาล์มประมาณ 50 - 60% จะเป็นค่าปุ๋ยเคมี)

 ไนโตรเจน (N) ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของพืช
 ถ้าขาดจะมีลักษณะใบสีเหลืองซีด ต่อไปจะเหลืองทั้งต้น ทางใบสั้น  ต้นโตช้า  ทะลายเล็กลง ปริมาณน้ำมันน้อย
 

ฟอสฟอรัส (P) กระตุ้นการแตกรากฝอย ทำให้ปาล์มสามารถดูดปุ๋ยได้ดีขึ้น มีส่วนทำให้ออกดอกได้ดีขึ้น
ถ้าขาดจะชะงักการเจริญเติบโต  ใบสีเขียวด้านเหลือบม่วง ขอบใบม่วง ออกดอกน้อย ยอดสั้นลง

โปแตสเซียม (K) เป็นธาตุอาหารที่ ต้องการมากที่สุด ทำให้ปาล์มสะสมแป้งและเปลี่ยนเป็นน้ำมันได้มาก  ให้ผลผลิตและเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง ทนแล้งได้ดี  ถ้าขาดจะมีจุดสีเหลืองส้มเป็นจ้ำ ๆ บริเวณทางใบ  เมื่อเป็นมาก ๆ เนื้อใบส่วนที่มีสีเหลืองจะแห้ง การผลิตดอกตัวเมียจะหยุดชะงัก ดอกตัวผู้น้อยลง ทางใบหดสั้น ทะลายเล็ก เปอร์เซ็นต์น้ำมันลดลง ไม่ทนแล้ง






แมกนีเซียม (Mg) ช่วยในการสังเคราะห์แสง หากขาดจะทำให้ดูดซึมอาหารน้อยลง       ต้นอ่อนแอ   ลักษณะอาการทางใบล่างจะมีสีเหลืองแถบยาว   แต่เส้นใบยังเป็นสีเขียว  หากไม่แก้ไขใบจะเริ่มแห้ง ไหม้ และผลผลิตลดลง



โบรอน (B) เป็นธาตุอาหารที่ต้องการน้อย แต่ขาดไม่ได้  ช่วยกระตุ้นให้เกิดตาดอก และ ตายอด เมื่อขาดจะมีลักษณะปลายใบย่อยหักงอเป็นรูปตะขอ ใบหยิกเป็นคลื่น  ยอดหัก อาจเกิดเฉพาะทางหรือทุกทางได้  ทางและใบย่อยเรียวแหลม สั้นผิดปกติ ดอกตัวเมียน้อย การผสมเกสรไม่สมบูรณ์ ผลผลิตลดลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น