วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การผลิตไผ่บงหวานให้ออกหน่อนอกฤดู(สวนเพชรน้ำผึ้ง)
การ ผลิตไผ่บงหวานให้ออกตลอดทั้งปีจะต้องมีการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง  คุณลำ พึงบอกว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ที่ปลูกไผ่บงหวานมักจะปลูกแบบฝากเทวดาเลี้ยง “น้ำ ไม่ให้หญ้าก็ไม่กำจัด”ไม่มีการสางกอ ที่สวนไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้งจะมีการ จัดการสวนที่ดีและปฏิบัติเป็นประจำทุกเดือน อาทิ ภายในจะต้องโล่งจะต้องขุด หน่อที่อยู่ภายในกอออกมาบริโภคหรือจำหน่าย,ในการให้ปุ๋ยกับต้นไผ่บงหวานจะ ให้เพียง 10% เท่านั้น ที่เหลือเป็นปุ๋ยคอกทั้งสิ้น
++ เทคนิคผลิตหน่อไผ่บงหวานนอกฤดูของสวนเพชรน้ำผึ้ง ++
ในแต่ละเดือนจะนำปุ๋ยยูเรีย (สูตร 46 -0-0)อัตรา 10 กิโลกรัมนำผสมคลุกเคล้ากับปุ๋ยคอกเก่า อัตรา 90 กิโลกรัมแล้วใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพรดตามลงไป หมักทิ้งไว้ 1 คืน นำไปใส่ให้กับต้นไผ่บงหวานต้นละ 5-10 กิโลกรัม สิ่งสำคัญในการผลิตไผ่บงหวานนอกฤดูก็คือ การจัดการเรื่องการให้น้ำซึ่งถือว่ามีความจำเป็นมาก การให้น้ำจะใช้วิธีการแบบปล่อยน้ำเข้าร่องก็ได้ แต่ก่อนปลูกเกษตรกรจะต้องมีการปรับพื้นที่ปลูกเพื่อให้ไล่ระดับน้ำจากที่สูง ลงสู่ที่ต่ำ ซึ่งวิธีการแบบนี้จะช่วยประหยัดต้นทุนเกี่ยวกับการติดตั้งระบบน้ำ ในขณะที่ถ้ามีการติดระบบการให้น้ำอย่างดีและมีประสิทธิภาพจะมีการวางระบบน้ำ แบบแถวเดียวหรือแถวคู่ก็ได้ โดยหัว 1 หัวน้ำจะได้ 4 ต้นวางให้ห่างระยะ 3เมตร ใช้สปริงเกอร์หัวสูง

++ ขั้นตอนในการผลิตไผ่บงหวานนอกฤดู ++
ในเรื่องของการดูแลรักษาเพื่อที่จะผลิตไผ่บงหวานนอกฤดูนั้น ในแต่ละปี จะต้องมีการตัดแต่งลำไผ่เก่าของกอไผ่ออกปีละ 1 ครั้งในช่วงเดือนพฤศจิกายน โดยนำไม่ไผ่ที่ตัดออกไปใช้ทำไม้ค้ำยันต้นผลไม้ ที่เหลือนำไปเผาเป็นถ่านไม้ไผ่เพื่อใช้ในครัวเรือนเพราะเนื้อไม่ลำไผ่บงจะ ตัน ส่วนใบและกิ่งไผ่ทิ้งไว้ในแปลงปลูกไผ่ เพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยให้กับต้นไผ่ต่อไป ในช่วงฤดูฝนจะปล่อยให้หน่อไผ่แทงขึ้นเป็นลำ หนึ่งกอปล่อยให้ขึ้นเป็นลำเฉลี่ย 8-12 ลำ เพื่อเป็นลำแม่ที่จะให้หน่อในฤดูถัดไป ลำที่ขึ้นใหม่มามักจะแขนงออกตามข้อเกษตรกรจะต้องหมั่นตัดแขนงทิ้งด้วยมีด พร้า
** ด้วยสวนไผ่แห่งนี้มีการจัดการระบบการให้น้ำทีดีสามารถให้น้ำได้ตลอดทั้งปี สามารถเก็บหน่อไผ่บงหวานได้ตั้งแต่เดือนมกราคม – พฤษภาคม ของทุกปีและขายจากสวนได้ราคากิโลกรัมละ 50 -100 บาท สำหรับหน่อไผ่ที่ ออกในฤดูระหว่างเดือนมิถุนายน – ตุลาคม ขายจากสวนได้กิโลกรัมละ 35-30 บาท สรุปได้ว่าในแต่ละปีคุณวรรณบดีจัดเก็บหน่อไม้ไผ่บงหวานได้เกือบตลอดทั้งปี เว้นเฉพาะเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคมเท่านั้น ในพื้นที่ปลูกไผ่บงหวาน 1 ไร่ จะมีรายได้จากการขายหน่อเฉลี่ย 75,000 บาท
ปัจจุบัน สวนไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง ยังมีแปลงรวบรวมพันธุ์ไผ่หลากหลายสายพันธุ์เพื่อเปิดให้เกษตรกรและผู้สนใจ ได้เข้าศึกษาและเรียนรู้ อาทิ พันธุ์ไผ่ตงไต้หวัน, ไผ่เปาะช่อแฮ,ไผ่เลี้ยงสีทอง,ไผ่ซางหวานเมืองน่าน,ไผ่ตงชนิดต่างๆ,ไผ่หก,ไผ่ ซางหม่น,ไผ่หม่าจู ฯลฯ ปลูกไว้เพื่อเป็นข้อมูลเปรียบเทียบว่าไผ่ในแต่ละสายพันธุ์จะนำมาปลูกในเชิง พาณิชย์ได้ในรูปแบบใดบ้าง ไผ่แต่ละสายพันธุ์มีการจัดการแปลงปลูกอย่างไรในขณะนี้ทางสวนได้รับการสนับ สนุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดแพร่ ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ครูเกษตรกร เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรและผู้ที่สนใจในการปลูกไผ่เข้ามาศึกษาและเรียนรู้ เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจคัดเลือกพันธุ์ไผ่ที่จะปลูกต่อไป

เทคนิคการกระตุ้นกิ่งตอนไผ่ให้แตกยอด ปัจจุบัน มีเกษตรกรหลายคนที่หันมาทำการเกษตรเกี่ยวกับการปลูกไผ่ ซึ่งในการปลูกไผ่นี้ ก็ยังมีการขยายพันธุ์ไผ่จำหน่ายด้วย  ซึ่งการขยายพันธุ์ไผ่นี้มีความสำคัญ เรื่องไผ่ที่นำไปปลูกเกิดตาย   ปรับสภาพในดินใหม่ไม่ได้   เนื่องจากไผ่ที่ ขยายพันธุ์นั้นยังไม่ได้แข็งแรงและไม่มีความสมบูรณ์ของต้นพันธุ์  ซึ่งคุณ องอาจ  เกษตรกรบ้านหนองหิน ต.ศิลา อ.เมือง ขอนแก่น  มีวิธีการกระตุ้นต้น พันธุ์ไผ่ที่ผ่านการตอนให้มีความสมบูรณ์ก่อนนำไปปลูก ด้วยการกระตุ้นให้แตก ยอด ทำให้ต้นพันธุ์ที่ปลูกนั้นมีเปอร์เซ็นต์การรอดตายมากกว่า
++วัสดุอุปกรณ์ในการตอนกิ่งไผ่++
1.ขุยมะพร้าว แช่น้ำ 1 คืน
2.ถุงพลาสติก สำหรับห่อกิ่ง
3.เชือกฟาง
4.น้ำยาเร่งราก
++วิธีการตอนกิ่ง++
1.เลือกกิ่งที่ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป สังเกตสีของกิ่งไม่เขียวเข้มเกินไป และเลือกกิ่งที่มีความสมบูรณ์
2.ใช้น้ำยาเร่งรากทาบริเวณจุดข้อต่อกับลำต้น
3.หุ้มด้วยขุยมะพร้าวมัดด้วยถุงพลาสติก มัดด้วยเชือกฟางให้แน่น จากนั้นทิ้งไว้ 15 วัน จะเริ่มเห็นรากสีขาวของไผ่ออกมา ให้นับไปอีก 15 วัน หรือดูว่ามีการแตกยอดใหม่แล้วถือว่าใช้ได้ สามารถตัดกิ่งตอนลงถุงเพาะได้

++เทคนิคการกระตุ้นไผ่ให้ออกยอด++
นำถุงพลาสติกมาคลุมหลังจากการรดน้ำ ทำแบบนี้ทุกวัน ครบ 1 สัปดาห์ จะช่วยให้ไผ่มีการคายน้ำน้อย และเร่งการแตกยอดใหม่ได้ดี วิธีการนี้ทำให้ต้นพันธุ์ปลูกติดเร็ว และปรับตัวเข้ากับสภาพดินใหม่ได้เร็วขึ้น ลดเปอร์เซ็นต์การตายของกิ่งตอนใหม่ได้ถึง 95 %

การป้องกันสัตว์กัดแทะหน่อไผ่มัน
หน่อไผ่มัน ที่ เก็บมาใหม่ๆ นั้น สามารถกินดิบได้ทันที เนื่งอจากมีรสชาติกรอบ ไม่ขื่น ไม่ ขม ออกหวานเล็กน้อย จึงเป็นหน่อไม้ทานสดที่ให้รสชาติดี  นิยมทานเป็นผัก เคียงน้ำพริก ให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี นอกจากนี้ ไผ่มัน ยังเป็นไผ่ไม่ต้อง การการดูแลมากนัก แต่ปัญหาประการหนึ่งที่เกษตรกรผู้ปลูกมักพบเป็นประจำก็ คือ ปัญหาเรื่องสัตว์เล็ก ๆ เช่น หนู กระรอก กระแต ชอบเข้ากัดกิน ทำให้หน่อ ไ ผ่ได้รับความเสียหาย ขายไม่ได้ราคา ตลาดไม่ต้องการคุณกัญญารัตน์ จึงได้ คิดหาวิธีการป้องกันการเข้าทำลายของสัตว์ดังกล่าว โดยไม่ใช้สารเคมีและไม่ เป็นการทำบาปด้วยการใช้ขวดน้ำพลาสติกครอบหน่อไผ่ ซึ่งมีรายละเอียดในการ จัดการดังนี้


++ การเตรียมขวดน้ำก่อนนำไปใช้ ++ นำขวดน้ำพาสติกที่ใช้แล้ว มาตัดก้นขวดออกไปและเปิดฝาเอาไว้ นำขวดที่ตัดก้นขวดเรียบร้อยแล้ว ไปสวมเข้ากับหน่อไผ่ เมื่อเริ่มสังเกตุเห็นหน่อแทงขึ้นมาจากดิน วิธีการนี้เป็นการไม่ทำบาป และช่วยดูแลรักษาหน่อไผ่ได้เป็นอย่างดี

แก้อาการใบและต้นไผ่สามฤดูเหลืองด้วยแร่หินภูเขาไฟ
เป็นที่รู้กันดี ในผู้เลี้ยงไผ่สายพันธุ์เบาอย่าง “ไผ่เลี้ยง” หรือ “ไผ่ 3 ฤดู” ว่าไผ่ชนิด นี้จะมีหน่อตลอดทั้งปี โดยจะเริ่มให้หน่อชุดแรกหลังปลูก 6 เดือน และจะทยอย ให้เก็บเกี่ยวหน่อไผ่ได้ทุกวัน  ซึ่งปริมาณผลผลิตจะขึ้นอยู่กับการดูแล รักษา เช่น การให้น้ำ ให้ปุ๋ยและการตัดแต่งกิ่ง
ต่อ เมื่อตัดหน่อขายไปจนถึงช่วงกลางปี หรือประมาณ เดือน กรกฎาคม – เดือนสิงหาคม ไผ่จะหยุดให้หน่อไปประมาณ 1 เดือน แล้วจะเริ่มให้หน่ออีกครั้งตามปกติ ราวเดือนมกราคมก็จะหยุดให้หน่อไปนาน 1เดือน ต่อเมื่อบำรุงรักษาต่อไปจนผ่านช่วงนี้ไผ่ก็จะให้หน่อได้ตามปกติ และ จะให้ผลผลิตสูงสุดช่วงเดือน พฤษภาคม – เดือนมิถุนายน
** แต่ในระหว่างที่ไผ่ 3 ฤดูให้หน่อและหยุดให้หน่อจะมีช่วงที่ใบและต้นมีอาการเหลือง ทำให้ให้หน่อได้ไม่เต็มที่ ซึ่งมักจะพบเป็นประจำในการปลูกไผ่สามฤดูเพื่อผลิตหน่อสด ต่อให้แก้อาการด้วยการให้ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยคอก ก็ยังไม่สามารถแก้ไขอาการเหลืองของไผ่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ต่อเมื่อลุง เหรียญ หิรัญรัตน์ ผู้ปลูกไผ่3 ฤดูได้แนะวิธีแก้อาการไผ่เหลืองในจากประสบการณ์ไว้ในนิตยสารไม่ลองไม่รู้ ฉบับประจำเดือน ธันวาคม 2553 ซึ่งเห็นเป็นประโยชน์สมควรเผยแพร่ต่อไป ไว้ดังนี้
วิธีแก้อาการต้นและใบไผ่เหลือง : ให้ใช้แร่หินภูเขาไฟจำนวน 1 กระสอบ ผสมกับ ปุ๋ยชีวภาพ จำนวน 1 กระสอบ หรือใช้อัตรา 1 ต่อ 1 ส่วน ในการบำรุงไผ่ที่มีอาการต้นและใบเหลืองแทนการใช้ปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆไม่นาน

การบำรุงไผ่เลี้ยงให้ออกหน่อทั้งปี
ไผ่เลี้ยงหากมีการดูแลบำรุงเป็นอย่างดีก็จะสร้างรายได้ให้กับผู้ปลูกได้ตลอดทั้งปี
วิธีการปลูกไผ่เลี้ยงและเทคนิคการบำรุงให้หน่อไม้ออกหน่อตลอดทั้งปี :
- ขุดหลุมลึก 50*50 เซนติเมตร
- ใช้ปุ๋ยคอกผสมคลุกเคล้ากับดินรองก้นหลุม ประมาณหลุมละ 1 ปี๊บ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
- เสียบตอพันธุ์ปลูกลึกลงไปประมาณ 1 คืบ
- กลบดินแล้วรดน้ำให้ชุ่มอีกครั้ง
- นำเศษฟางหรือเศษหญ้ามาคลุมโคนต้นไผ่ไว้ตลอดเวลาเพื่อเป็นการเก็บรักษาความชื้นในดินให้สม่ำเสมอ
- รดน้ำทุกวันจนกระทั่งไผ่แตกหน่อ จึงเปลี่ยนเป็นรดน้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
- สังเกตสีของใบไผ่ ถ้าสีเริ่มจางให้ใส่ปุ๋ยขี้หมู 3 กิโลกรัม/ ต้น แล้วฉีดพ่นด้วยน้ำแม่ ในอัตรา น้ำแม่ 1 ลิตร+น้ำ 10 ลิตร / 2 กอ ประมาณเดือนละ 1 ครั้ง
- ไผ่เลี้ยงอายุประมาณ 3 เดือน ก็เริ่มเก็บผลผลิตมาประกอบอาหารได้แล้ว
เทคนิคการบำรุงหน่อไม้ไผ่เลี้ยง :
- ใช้เศษหญ้า หรือ ฟางแห้ง มาคลุมโคนต้นไผ่ไว้ แล้วรดน้ำ สัปดาห์ละครั้ง เพื่อเป็นการรักษาความชื้นไว้ให้สม่ำเสมอ
- บำรุงปุ๋ยขี้หมู + น้ำแม่ ฉีดพ่นเดือนละ 1 ครั้ง จะช่วยให้หน่อไม้ออกผลผลิตดีต่อเนื่องตลอดทั้งปี
สูตรการทำน้ำหมักแม่ :
++ วัตถุดิบ ++
- หน่อกล้วย จำนวน 5 กิโลกรัม
- หน่อไม้สด จำนวน 5 กิโลกรัม
- พืชสดทุกอย่าง จำนวน 5 กิโลกรัม
- กากน้ำตาล จำนวน 10 ลิตร
- สาร พด.2 จำนวน 1 ซอง
++ วิธีการ ++
- สับวัตถุดิบทุกอย่างให้เป็นชิ้นเล็กๆ หมักกากน้ำตาลคลุกเคล้าให้เข้ากัน ใส่ถังหมัก ปิดฝาตั้งไว้ในที่ร่ม หมักนาน 45-90 วัน นำไปใช้ประโยชน์ได้
ประโยชน์
- บำรุงรากและลำต้นสำหรับไม้ผลทุกชนิด
- บำรุงดิน พร้อมเพิ่มธาตุอาหารในดินให้ดินมีความร่วนซุยสมบูรณ์

กระตุ้นหน่อไผ่ด้วยเศษหน่อไม้
บ้านห้วย เดื่อ ต.ศรีฐาน อ.ภูกระดึง จ.เลย   เป็นพื้นที่ที่ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ ของผืนป่า เนื่องจากอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง  ซึ่งส่วนหนึ่ง เกษตรในพื้นที่มีการดูแลป่าไม้ร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วม ในการรักษาป่า ทำให้ป่าได้มีส่วนเกื้อกูลให้เกิดรายได้นั่นคือ อาชีพจากการ แปรรูปหน่อไม้ป่า ซึ่งที่นี่ถือว่าเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน ดังนั้นก็ ไม่แปลกที่จะมีส่วนเศษเหลือจากการแปรรูปหน่อไม้อยู่วันละ  ไม่ต่ำ กว่า 500  กก. /วัน/ครอบครัว  ซึ่งแนวคิดที่จะนำเอาเศษเหลือจากหน่อไม้ที่ เหลือไปใช้ให้เกิดประโยชน์นี้เป็นของคุณปราณี  เขตมนตรี  เกษตรกรผู้แปรรูป หน่อไม้และปลูกไผ่เลี้ยง แห่งบ้านห้วยเดื่อ มาฝากกัน
วิธีการทำ
นำเศษหน่อไม้ที่เหลือจากการแปรรูปมาใส่บริเวณทรงพุ่มของไผ่กอละ 20 ก.ก. จากนั้นราดทับด้วยน้ำหมักจุลินทรีจากหอยเชอรี่ สัดส่วน น้ำหมัก 2 ช้อนโต๊ะ /น้ำ 20 ลิตร ราดให้ทั่วทั้งกองเศษหน่อไม้ให้ชุ่ม ปล่อยทิ้งให้ย่อยสลายเอง เพียง 20 วัน ให้น้ำไผ่ปกติ ผลที่ได้รับคือ ในช่วงหน้าแล้งแม้ว่าขาดน้ำก็ตาม ดินในพื้นที่ป่าไผ่จะยังคงชุ่มอยู่ และจะมีการแตกหน่อของไผ่นอกฤดูได้ดียิ่งขึ้น
หมายเหตุ นอกการการนำไปใส่ในพื้นที่สวนไผ่นอกฤดูแล้ว ยังสามารถนำไปใส่นาข้าว ทำให้นาข้าวไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมี ก็มีผลผลิตใกล้เคียงกันกับการใส่ปุ๋ยเคมีเลยทีเดียว ที่สำคัญคือลดต้นทุนการผลิตได้มาก

การใช้จุลินทรีย์หน่อกล้วยกระตุ้นหน่อไผ่ ไผ่เลี้ยง หวาน ปัจจุบันผู้บริโภคมีความต้องการมากขึ้น เนื่องจากไผ่เลี้ยงหวานมีรส ชาติ หวาน กรอบ อร่อย  แต่เกษตรกรยังไม่สามารถผลิตให้ไผ่สามารถออกได้ทั้ง ปี โดยเฉพาะในช่วงเดือนกุมภาพัน-มีนาคม หน่อไผ่จะราคาสูงมาก แต่พอถึงเมษายน -พฤษภาคมจะราคาถูกเพราะหน่อไผ่จะออกช่วงนี้ ไม่ว่าจะเป็นไผ่ที่เกษตรกรปลูก หรือไผ่ป่า ดังนั้นถ้าเกษตรกรควบคุมและบังคับให้ไผ่ออกในช่วงนี้ ได้ (กุมภาพันธ์-มีนาคม)  จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกจำนวนไม่น้อย จากการปลูกไผ่ คุณสวัสดิ์ อกนิตย์ เกษตรกร บ้านหัวเรือ ต.หัว เรือ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี  จึงได้ศึกษาและนำน้ำหมักจุลินทรีย์หน่อ กล้วย  ซึ่งได้ไปอบรมที่ค่ายทหารป่าดงนาทาม จ. อุบลราชธานี และนำมาทดลองใช้ กับไผ่เลี้ยง
ผลปรากฏว่าสามารถใช้ได้ดี และทำให้ไผ่ที่ปลูกออกหน่อเร็วขึ้น และแตกหน่อ เยอะ อีกทั้งหน่อมีขนาดใหญ่ และยังสามารถนำน้ำหมักดังกล่าวไปใช้ได้ในการทำ นา โดยนำไปรดก่อนการไถกลบตอซังข้าว ทำให้ตอซังข้าวย่อยสลายได้เร็วขึ้น ใช้ ล้างทำความสะอาดคอกสัตว์
น้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วย
การผลิตจุลินทรีย์หน่อกล้วย :
ส่วนผสม
-หน่อกล้วยสับละเอียด 30 กิโลกรัม
-กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม
-สารเร่ง พด.2 1 ซอง
-น้ำ 100 ลิตร
วิธีการทำ
หน่อกล้วยอ่อนความสูงจากพื้นดิน 1 เมตร ขุดเหง้าสลัดเอาดินออกไม่ต้องล้างน้ำ เอาทั้งเหง้าต้น นำหน่อกล้วยสับละเอียดใส่ถังพลาสติกทึบแสงขนาดจุ 150- 200 ลิตร คลุกเคล้ากับกากน้ำตาล เติมน้ำสะอาดลงถังเกือบเต็ม ละลายสารเร่ง พด.2 คนติดต่อกัน 5 – 10 นาที ก่อนใส่ถังคนให้เข้ากัน(ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่ก็ได้) ปิดฝาให้สนิท 2 วัน 2 คืน (48 ชั่วโมง) ไม่ให้อากาศเข้า (ไม่ให้จุลินทรีย์ภายนอกเข้าไป) หลัง 48 ชั่วโมงแล้ว ให้เปิดฝาถังคนทุกวัน และคอยกดวัสดุให้จมน้ำอยู่เสมอ หมักไว้ในร่มนาน 7 วัน (จนหมดฟอง) นำกากกล้วยออกจากถังไปใส่โคนต้นไผ่หรือในแปลงนาเพื่อเป็นปุ๋ยให้หมดเหลือแต่ น้ำ สามารถเก็บได้นานถึง 6 เดือน
วิธีการนำไปใช้กระตุ้นหน่อไผ่
นำจุลินทรีย์หน่อกล้วยอัตรา 20 – 40 ซีซี มาผสมน้ำ 20 ลิตร หรือถ้าไม่ผสมน้ำก็สามารถนำน้ำหมักหน่อกล้วยราดรดโคนไผ่ได้เลย การใช้จะใช้ 7-10 วัน /ครั้ง (ยิ่งบ่อยเท่าไหร่ยิ่งดี)
นำไปราดรดรอบโคนไผ่ก็จะช่วยย่อยสลายเศษซากวัชพืช ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ทำให้พืชสามารถดึงธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ได้อย่างสะดวกมากขึ้น ทำให้ไผ่ออกหน่อเร็ว แตกหน่อเยอะและหน่อใหญ่
ประโยชน์เพิ่มเติมของจุลินทรีย์หน่อกล้วย
1.ปรับปรุงโครงสร้างของดิน และ กำจัดเชื้อโรคในดิน ผสมจุลิทรีย์หน่อกล้วย 20-40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดรดลงดินร่วมไปพร้อมๆกับการให้น้ำ ซึ่งการใช้ในแต่ละครั้ง รวมทั้งหมดแล้ว อย่าให้เกิน 3 ลิตร ต่อ ไร่
2. ป้องกันกำจัดโรคพืช ผสมจุลิทรีย์หน่อกล้วย 20-40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดต้นพืชให้เปียกชุ่ม ทั้งบนใบและใต้ใบ เพื่อล้างน้ำฝน ภายหลังจากที่ฝนหยุดตกแล้วนานเกิน 30 นาที ฉีดพ่นล้างหมอกก่อนแดดออก ฉีดพ่นป้องกันโรคที่มากับน้ำค้างช่วงตอนเย็น หรือฉีดพ่นในอัตรา 40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่อพบการระบาดของโรคพืช ทั้งเว้นการให้น้ำ 48 ชั่วโมง เพื่อลดความชื้น
3. ปรับปรุงคุณภาพน้ำในร่องสวน สระเก็บกักน้ำ และบ่อเลี้ยวสัตว์น้ำ ใส่จุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 ลิตร ต่อน้ำ 10,000 ลิตร
4.ล้างทำความสะอาดคอกสัตว์ ฉีดพ่นด้วยน้ำจุลินทรีย์ 1 ลิตร ต่อน้ำ 100 ลิตร
5. เร่งการย่อยสลายเศษซากอินทรีย์วัตถุ หรือดับกลิ่นขยะของเน่าเสีย ฉีดพ่นด้วย จุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 ลิตรต่อน้ำ 100 ลิตร กรณีหมักฟางในนาข้าว ใช้จุลินทรีย์หน่อกล้วย 10 ลิตร ต่อ พื้นนา 1 ไร่

เทคนิคกระตุ้นไผ่ให้ออกหน่อ ด้วยการตัดแต่งกิ่ง
ทีมงานร่วมด้วย ช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด จ.ยะลา ได้ลงพื้นที่ไปพบกับคุณกัลยา จันทร์ ศรี เกษตรกรบ้านไม้แก่น อ.รามัน จ.ยะลา และได้พบกับการทำการเกษตรมาก มาย ซึ่งภายในบริเวณของคุณป้ากัลยา จะเป็นสวนแบบผสมผสาน มีชะอม มะนาว ไม้ ไผ่ บ่อปลา พืชสวนครัว ฯลฯ .
อยากนำเสนอ มีสิ่งหนึ่งคือการกระตุ้นหน่อไม้ให้ออกเพิ่มกว่าเดิม คือการเผากอไผ่ให้ไหม้ โดยเริ่มจากการแต่งรอบๆกอ แล้วเผา จากนั้นก็เริ่มใส่ปุ๋ยคอกผสมเกลือเม็ด รดน้ำทุกวัน จะสังเกตเห็นว่าเดิมหน่อไผ่จะออกประมาณ5 หน่อ แต่มาทำการแบบนี้แล้วจะออกเพิ่มมากกว่าเดิมเท่าตัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น