วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555


 การปลูก
ฤดูปลูก
ฤดูที่เหมาะสม ควรปลูกช่วงต้นฤดูฝน หรือราวเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม
เตรียมพื้นที่ พื้นที่จะปลูกควรตัดโค่นไม้ใหญ่ ออก เพราะจะไปแย่งอาหารจากไผ่ ถ้าได้พื้นที่ใกล้แหล่งน้ำจะดีมาก เพราะไผ่เป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก แต่ไม่ชอบน้ำขัง เริ่มโดยการไถดะ ไถพรวน ตากดินไว้สัก 7- 10 วัน เพื่อฆ่าเชื้อ แล้วขุดหลุมขนาด 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างหลุมขึ้นอยู่กับเกษตรกรต้องการดังนี้ :-
    • 2 x 2 เมตร จะใช้ต้นพันธ์ 400 ต้นต่อไร่
    • 2.5 x 2.5  เมตร จะใช้ต้นพันธ์ 256 ต้นต่อไร่
    • 3 x 3  เมตร จะใช้ต้นพันธ์ 178 ต้นต่อไร่
    • 3.5 x 3.5  เมตร จะใช้ต้นพันธ์ 131 ต้นต่อไร่
    • 4 x 4  เมตร จะใช้ต้นพันธ์ 100 ต้นต่อไร่
    • 5 x 5  เมตร จะใช้ต้นพันธ์ 64 ต้นต่อไร่
วิธีปลูก รองก้นหลุม ด้วยดินที่ขุดขึ้นมาคลุกเคล้ากับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก แล้วนำต้นกล้าไผ่ลงวาง ฉีกถุงพลาสติกออก กลบดินจนพูนเมื่อดินยุบตัวแล้วจะเสมอกับพื้นที่ปลูกพอดี 


 การดูแลรักษา       ควรทำการบำรุงรักษาให้เหมาะสมเพื่อให้ได้รับผลผลิตอย่างสม่ำเสมอ ดังนี้
1. การให้น้ำ
       ปกติ จะปลูกไผ่กันในฤดูฝนอยู่แล้ว เพราะประหยัดน้ำได้มาก อาจจะไม่ต้องให้น้ำเลยก็ได้ นอกจากฝนเกิดทิ้งช่วงนานๆ จึงให้น้ำช่วย แต่หลังจากหมดฝนแล้ว ผู้ปลูกต้องคอยรดน้ำให้เสมออย่าปล่อยให้ขาดน้ำนานๆ เพราะไผ่ในปีแรกนี้ยังไม่ค่อยแข็งแรงนัก อาจตายได้โดยง่าย หลังจากอายุเกิน 1 ปี ไปแล้ว ต้นไผ่จะแข็งแรงและทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีขึ้น
2. การใส่ปุ๋ย       ใน ช่วงปีแรก ไผ่สามารถใช้ปุ๋ยที่คลุกเคล้าไปกับดินปลูกได้พอ ในระยะปีต่อๆ ไป จำเป็นต้องมีการไถพรวนและใส่ปุ๋ย ในระยะนี้อาจจะเห็นว่าหน่อที่แตกจะมีขนาดค่อนข้างเล็กและจะมีขนาดโตขึ้นทุกๆ ปี ถ้าความชุ่มชื้นและดินอุดมสมบูรณ์ดีพอเพียง แต่ถ้าจะให้ผลรวดเร็วควรจะให้ปุ๋ยเร่งทำให้ไผ่เกิดหน่อปริมาณมากตลอดฤดูกาล หลังจากเก็บหน่อขายบ้างแล้ว จะทำการตัดแต่งกอและไถพรวนเพื่อกำจัดวัชพืช ปกตินิยมไถพรวนในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ก่อนที่ดินจะแห้ง เพราะถ้าดินแห้งจะไถพรวนได้ยาก
       การใส่ปุ๋ยจะใส่ในช่วงเดือนมีนาคม ถึงเมษายน ปุ๋ยที่ยมคือปุ๋ยคอกเป็นหลัก ในอัตรา 100-200 กิโลกรัมต่อไร่สำหรับป่าไผ่ทั่วไป แต่ถ้าเป็นสวนไผ่ตงจะใส่มากถึง 1-1.5 ตันต่อไร่ หรืออาจใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 หรือ 15-15-15 อัตรา 2-4 กิโลกรัมต่อกอรวมกับปุ๋ยคอก
       ในกรณีที่ต้องการเร่งการออกหน่อ นอกเหนือจากใส่ปุ๋ยปกติแล้ว จะมีการใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ในอัตรา 1 - 2 กิโลกรัมรอบ ๆ กอ ระวังอย่าให้โดนหน่อจะทำให้เน่าได้ และถ้าต้องการให้หน่อมีคุณภาพดียิ่งขึ้น ควรใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 เพิ่มไปในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อกอ ใส่พร้อมกับปุ๋ยยูเรีย การใส่ปุ๋ยเพื่อเอาหน่อโดยเฉพาะไผ่ตงจะเน้นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเป็นหลัก ไม่ควรใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว จะทำให้ไผ่ทรุดโทรมเร็ว
3 . การไว้ลำและการตัดแต่งกอ       ไผ่ ตง เมื่อปลูกได้ประมาณ 1 ปี จะเริ่มแตกหน่อได้ประมาณ 3-4 ลำ ในระยะแรกนี้จะไม่มีการตัดหน่อเลย ปล่อยให้เป็นลำต่อไป การดูแลกอในช่วงนี้จะทำการตัดกิ่งแขนงเล็กๆ บริเวณโคนต้นที่ขึ้นเกะกะทิ้งไปเท่านั้น
เมื่ออายุ 2 ปี จะมีหน่อแทงขึ้นมาอีก 5 - 6 หน่อ เหมือนในปีแรก ในปีนี้ก็ยังไม่มีการตัดหน่อ ปล่อยให้เป็นลำต่อไป การดูแลกอเพียงแต่ตัดเอาหน่อเน่า ลำคดเอียงแคระแกร็นและตัดแต่งกิ่งแขนงทิ้ง เพราะฉะนั้นเมื่อขึ้นปีที่ 3 จะมีลำประมาณ 8-10 ลำ
ไผ่ตงเมื่ออายุครบ 3 ปี ก็มีหน่อพอที่จะตัดขายได้ ในการตัดหน่อนี้ควรจะตัดจากกลางกอก่อนแล้วขยายออกมารอบนอกกอ ซึ่งหน่อนอกๆ ต้องมีการรักษาไว้บ้างเพื่อให้เป็นลำแม่ โดยเลือกหน่อที่อวบใหญ่และอยู่ในลักษณะที่จะขยายออกเป็นวงกลมจะทำให้กอใหญ่ ขึ้น มีหน่อมากขึ้นในปีต่อไป สะดวกที่จะเข้าไปดูแลรักษาและตัดหน่อ
      การ ตัดแต่งกอนั้น ควรทำติดต่อกันทุกๆ ปี หลังการเก็บเกี่ยวในช่วงปลายฤดูฝนหรือประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม ซึ่งเป็นช่วงที่ไผ่ชะงักการเจริญเติบโตชั่วคราว การตัดแต่งกอหรือที่ชาวบ้างเรียกกันว่า “ล้างกอไผ่” นั้น จะตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรคและมีแมลง ลำที่ไม่ค่อยสมบูรณ์ และลำที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปออก โดยเฉพาะลำที่บริเวณโคนลำเป็นแข้งตุ๊กแก ตัดให้เหลือลำแม่ดีๆ ไว้ประมาณ 10-20 ลำต่อกอ ลำที่เหลือไว้นี้จะเป็นลำแม่ที่ค้ำจุนและบังลมให้ลำที่เพิ่งแตกใหม่ ลำที่ตัดออกนี้ให้ตัดติดดินหรือเหลืออยู่เหนือพื้นดินประมาณ 5 เซนติเมตร ไม่ให้เปลืองอาหารที่จะต้องส่งไปเลี้ยงลำพวกนี้อัก เพราะลำแก่ที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป จะแก่และแตกหน่อได้น้อย ทั้งยังเป็นการเร่งให้หน่อใหม่มีขนาดใหญ่และสมบูรณ์ดีขึ้น
4. การบังคับให้เกิดหน่อมากขึ้น        ใน การบังคับให้ไผ่ตงแทงหน่อมากขึ้นตามฤดูกาลนั้น นอกจากการใส่ปุ๋ยและปฏิบัติดูแลตามปกติแล้ว ยังมีวิธีกระตุ้นให้ไผ่ตงแทงหน่อมากขึ้น โดยการสุมไฟในฤดูแล้งช่วงที่ลมสงบ โดยการรวบรวมใบ กิ่งแขนง ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งแล้วนำมากองให้ห่างจากกอประมาณ 1 เมตร จุดไฟเผา แต่ต้องระวังไม่ให้ไฟกรรโชกมาก โดยการพรมน้ำช่วยหรืออาจเอาใบ กิ่งแขนงสุมในกอเลย แต่ต้องระวังไม่ให้ไฟลามไปติดส่วนบนๆ ของกอในการสุมไฟนั้น เข้าใจว่าเป็นการเร่งให้ไผ่ตงมีการพักตัวเร็วขึ้น (hardening) เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนจะได้แทงหน่อมากขึ้น หลังจากที่ได้พักตัวอย่างเต็มที่และการสุมไฟยังช่วยในการกำจัดโรคและแมลงไป พร้อมกันด้วย
       นอกจากนี้ ยังมีวิธีการบังคับการออกหน่อวิธีอื่นอีก เช่น การไถพรวนแปลงไผ่ตง ทั้งในระหว่างแถวและระหว่างต้น โดยทำการไถพรวนในช่วงฤดูแล้ง ประมาณเดือนตุลาคม-ธันวาคม เป็นการทำลายรากแก่เพื่อให้แตกรากใหม่ ดังนั้นในการไถพรวนการให้น้ำจะทำให้ไผ่ตงออกหน่อเร็วและดก ส่วนการบังคับให้ไผ่ตงแทงหน่อนอกฤดูปกติก็ทำได้เช่นกัน โดยการบำรุงต้นด้วยการใส่ปุ๋ยและการให้น้ำอย่างถูกต้อง จึงสามารถทำได้เฉพาะแปลงปลูกที่มีแหล่งน้ำอย่างเพียงพอเท่านั้น
5. การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูของไผ
         ปกติ ไม่มีการระบาดรุนแรงของโรคและแมลงในสวนไผ่นัก มีเพียงแมลงพวกหนอนผีเสื้อกลางคืนมากัดกิน และม้วนใบไผ่เพื่อหลบซ่อนและเป็นที่อาศัยในระยะเป็นดักแด้บ้างเล็กน้อย แมลงที่เข้าทำลายหน่ออ่อนของไม้ไผ่ส่วนมากเป็นประเภทกัดกินหน่อ 4-5 ชนิด คือ หนอนด้วงเจาะหน่อไผ่ ด้วงกินหน่อ ด้วงงวงเจาะกิ่ง ผีเสื้อ เพลี้ยอ่อนและมวนดูดน้ำเลี้ยง การควบคุมและกำจัดสามารถกระทำได้หลายวิธี คือ ภายหลังที่หน่อเริ่มแตกจากตาของเหง้าปล้องแล้ว ก็หาทางป้องกันพวกเชื้อราและแมลงที่เข้ามากัดกินและอาศัยอยู่ตามกาบของหน่อ อ่อน โดยการใช้สารปราบศัตรูพืช เช่น มาลาไธออน ผสมน้ำราดที่หน่อและเหง้าหรือใช้วิธีควบคุมโดยการลิดกิ่ง หรือตัดลำแก่ที่เป็นที่อยู่ของดักแด้ออก แล้วทำลายหรือขายลำไป จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดจำนวนประชากรแมลงได้


การขยายพันธุ์
        ไม้ไผ่สามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศ และไม่อาศัยเพศ ส่วนวิธีที่เหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับชนิด พันธุ์ และรูปแบบของการเจริญเติบโต สำหรับวิธีการขยายพันธุ์ที่นิยมทำกันโดยทั่วไปนั้นมีอยู่ 5 วิธี คือ
- การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
     ไผ่ส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะมีการออกดอกราวๆ เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และเมล็ดเริ่มแก่เต็มที่จนร่วงหล่นลงสู่พื้นดินราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ปกติแล้วไม่นิยมเก็บเมล็ดไผ่ที่แก่ติดกับกิ่ง เพราะส่วนใหญ่เมล็ดจะไม่แก่เต็มที่ เมื่อนำไปเพาะแล้วอาจทำให้เปอร์เซ็นต์การงอกน้อยหรือเพาะไม่งอกได้ เมื่อเก็บเมล็ดได้แล้วควรนำไปผึ่งแดดไว้ประมาณ 2 - 3 วัน เพื่อให้เมล็ดที่ติดอยู่กับก้านหลุดร่วงออกและเพื่อลดความชื้นของเมล็ด จากนั้นจึงทำความสะอาดเมล็ดโดยใช้กระด้งฝัดร่อนเอาเปลือกออก เมล็ดลีบออกเสียให้หมด คงเหลือแต่เฉพาะเมล็ดดีเท่านั้น เมล็ดไผ่ที่ได้หากนำไปเพาะในช่วงนี้จะให้เปอร์เซ็นต์การงอกสูง แต่ถ้าหากต้องการเก็บรักษาควรนำไปบรรจุลงในถุงพลาสติกเสียก่อน แล้วเก็บไว้ในที่อุณหภูมิ 2-7 องศาเซลเซียส จะทำให้สามารถเก็บเมล็ดไว้ได้นาน 2-3 ปี โดยที่เมล็ดไม่เสีย ส่วนการเก็บเมล็ดไว้ในที่อุณหภูมิห้องปกติจะทำให้เมล็ดสูญเสียความมีชีวิต ภายในเวลา 6-7 เดือน
- การขยายพันธุ์โดยใช้ส่วนของตอหรือเหง้า (การแยกกอ)
     วิธีนี้ใช้ได้ผลกับไผ่ทุกชนิด โดยเฉพาะไม้ไผ่ที่มีโคนลำค่อนข้างหนา เช่น ไผ่รวก ไผ่เลี้ยง ไผ่หางช้าง อายุของเหง้าที่สามารถผลิตหน่อใหม่ได้ดีคือ เหง้าที่มีอายุ  1 - 2 ปี เนื่องจากตาของเหง้าที่มีอายุมากกว่านี้มักอ่อนแอไม่แข็งแรง การตัดควรตัดให้ตอสูงประมาณ 50 - 80 เซนติเมตร ทำการขุดเหง้าออกจากกอแม่เดิมโดยระวังอย่าให้ตาที่เหง้าเสียหายได้ เพราะตานี้จะแตกเป็นหน่อใหม่ต่อไป วิธีนี้ให้หน่อที่แข็งแรงและได้หน่อเร็วกว่าการขยายพันธุ์โดยการใช้กิ่งแขนง หรือลำ ทั้งยังเป็นวิธีการที่ทำให้ได้ต้นตรงตามสายพันธุ์เดิมมากที่สุด แต่ก็ยังเป็นวิธีที่ไม่นิยมนัก เนื่องจากสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ลำบากในการขนย้าย เสียเวลาและแรงงานมาก และไม่สามารถขยายพันธุ์เป็นปริมาณมากๆ ในระยะสั้น ได้ เพราะเมื่อทำการขุดแยกกอมากเกินไป อาจทำให้กอเดิมได้รับอันตราย
- การขยายพันธุ์โดยการใช้ปล้อง กิ่งตัด หรือใช้ลำ        การขยายพันธุ์วิธีนี้นิยมใช้กับไม้ไผ่ชนิดที่ไม่ค่อยออกเมล็ด และเป็นไม้ไผ่ที่มีลำค่อนข้างใหญ่ เช่น ไผ่สีสุก ไผ่เหลือง ไผ่ป่า ไผ่ซางดำ เป็นต้น โดยทำการคัดเลือกลำที่มีอายุประมาณ 1-2 ปี เมื่อได้ลำที่ต้องการแล้ว นำมาตัดเป็นท่อนๆ โดยให้แต่ละท่อนมี 1-2 ข้อ ดังวิธีต่อไปนี้       
        ท่อนที่ใช้ 1 ข้อ จะตัดตรงกลางไม้ไผ่ให้ข้ออยู่ตรงกลาง ตัดให้ห่างจากข้อประมาณ 1 คืบ แล้วนำไปชำในแปลงเพาะชำ ให้ตาหงายขึ้น โดยระวังอย่าให้ตาเป็นอันตราย การชำควรให้ข้ออยู่ระดับดิน แล้วใส่น้ำลงในปล้องที่เหลือเหนือดินหรือวัสดุเพาะชำให้เต็ม
       ท่อนที่ใช้ 2 ข้อ เมื่อทำการตัดให้มี 2 ข้อ แล้วเจาะรูตรงกึ่งกลางปล้องเพื่อหล่อน้ำ ทำการริดกิ่งที่ข้อโดยตัดออกให้เหลือเพียง 2 - 3 นิ้ว ระวังอย่าให้ตาที่ข้อปล้องแตกหัก นำไปวางในแปลงชำ โดยฝังลงดินหรือวัสดุเพาะชำประมาณครึ่งของลำ หรือใช้ดินกลบข้อให้มิด เหลือไว้เฉพาะที่น้ำหล่อเท่านั้น
        การเพาะชำโดยวิธีการใช้ลำ สามารถชำในแปลงเพาะ ควรทำการปรับหน้าดินในกรณีที่เป็นที่ดอนที่น้ำท่วมไม่ถึง แต่ถ้าพื้นที่ลุ่มควรทำการยกร่องเพื่อมีการระบายน้ำดี หลังจากนั้นจึงทำการย่อยดิน ตากดินทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น ทำหลังคาทางมะพร้าวหรือบังแดด เมื่อชำเสร็จแล้วควรรดน้ำให้ชุ่มทันที หมั่นดูแลรดน้ำทุกวัน หรือวันเว้นวัน หลังจากนั้นประมาณ 2-4 สัปดาห์ จะพบหน่อและรากแตกออกมา ประมาณ 1-2 เดือน จึงทำการเลื่อยลำเก่าออก แล้วจึงย้ายถุงพลาสติกขนาดประมาณ 5 x 8 นิ้ว เพื่อให้สะดวกในการขนย้ายปลูก เมื่อต้นกล้าเจริญเต็มที่จึงค่อยๆ เปิดหลังคาที่คลุมไว้ออก จนกระทั่งสามารถเจริญได้ดีในที่กลางแจ้ง หลังจากนั้นประมาณ 6-8 เดือน กล้าไม้จะแกร่งเต็มที่ จึงทำการย้ายปลูกได้ อย่างไรก็ตามวิธีนี้ก็ยังไม่ค่อยนิยามากนัก เพราะใช้เวลาและเสียค่าใช้จ่ายมากกว่าวิธีใช้กิ่งแขนง และต้องตัดลำอายุ 1 ปี ซึ่งเป็นลำแม่ที่ควรเลี้ยงเอาไว้ เพื่อให้หน่อใหม่ในปีถัดไป นอกจากนั้นยังนิยมเก็บลำไว้ขายเพื่อประโยชน์อย่างอื่นด้วย
- การขยายพันธุ์โดยการใช้กิ่งแขนง
        กิ่งแขนง คือกิ่งที่แตกจากตาบริเวณข้อต่อของลำ การขยายพันธุ์วิธีนี้เป็นที่นิยมกันมากที่สุดเพราะสะดวกรวดเร็วและสามารถตัด ชำกิ่งแขนงได้มาก ความสำเร็จในการปักชำโดยใช้กิ่งแขนงขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ไผ่ หากเป็นไม้ไผ่ที่มีรากอากาศบริเวณโคนกิ่ง เช่น ไผ่ตง จะมีความสำเร็จสูง และยังขึ้นอยู่กับการเลือกกิ่งแขนง คือ ปลายฤดูฝนช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม ไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่มีกิ่งแขนงมาก การเลือกกิ่งแขนงควรเลือกกิ่งที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้วถึงนิ้วครึ่ง ที่มีรากอากาศเป็นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเหลือง แล้วใบที่ยอดคลี่แล้ว กาบหุ้มตาหลุดหมด อายุของกิ่งแขนงอย่างน้อย 4-6 เดือน ถ้าค้างปียิ่งดี เมื่อเลือกกิ่งแขนงได้ตามความต้องการแล้ว ตัดปลายกิ่งออก ให้กิ่งแขนงที่จะปักชำยาวประมาณ 80 - 100 เซนติเมตร มีข้อติดอยู่ 3-4 ข้อ ควรใช้ฟางข้าวหรือกระสอบคลุมกิ่งแขนงไว้ พรมน้ำให้ชุ่มเพื่อเป็นการบ่มและกระตุ้นตารากและตายอดที่อยู่บริเวณโคนกิ่ง ซึงเมื่อบ่มตาไว้ประมาณ 2-3 วัน จะสามารถสังเกตเห็นปุ่มสีขาวบริเวณโคนกิ่งได้ ปุ่มดังกล่าวจะเจริญเป็นรากต่อไป ในบางกิ่งอาจเห็นตายอดเกิดการขยายตัวพร้อมที่จะแทงยอดด้วย การบ่มตาทำให้สามารถคัดเลือกกิ่งแขนงที่มีคุณภาพได้ ทำให้การปักชำมีประสิทธิภาพและมีการรอดตายสูง
               การชำกิ่งแขนงไม้ไผ่อาจชำในถุงพลาสติกโดยตรง หรือชำในแปลงเพาะชำแล้วจึงย้ายลงถุงภายหลัง แต่การปักชำกิ่งแขนงเพื่อการค้าในปัจจุบันนิยมชำในถุงพลาสติกโดยตรงตั้งแต่ แรกเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนขณะย้ายชำกล้าและสะดวกในการขนย้ายไปปลูกตาม ที่ต่างๆ ปกตินิยมใช้ถุงขนาด 5 x 8 นิ้ว ก่อนทำการปักชำควรมีการเตรียมดินที่จะนำมาใช้เป็นวัสดุเพาะชำ โดยทำการย่อยดินและผสมดินกับขี้เถ้าแปลบในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 โดยประมาณ แล้วตากดินทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น หลังจากนำกิ่งลงถุงแล้วควรกดดินให้แน่น รดน้ำทันทีเพื่อให้กิ่งชำสดอยู่เสมอ หลังจากนั้นหมั่นดูแลรดน้ำทุกวันหรือวันเว้นวัน จนกระทั่งกิ่งแขนงที่ชำไว้แตกใบและราก ใช้เวลาอีกประมาณ 6 เดือน ก็ย้ายไปปลูกในแปลงได้ ก่อนทำการย้ายปลูกควรนำกล้าไม้ออกวางกลางแจ้งเป็นเวลา 1-2 เดือน เพื่อให้กล้าแกร่งเต็มที่ โดยปกติชาวสวนไผ่ตงมักทำการชำกิ่งแขนงในปลายฤดูฝนแล้วปลูกในต้นฤดูฝนปีถัดไป ซึ่งจะให้เวลาประมาณ 8 เดือน วิธีนี้ทำให้ได้กิ่งพันธุ์ที่แข็งแรงและเปอร์เซ็นต์การรอดตายสูง
- การขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
        การ เลี้ยงเนื้อเยื่อไม้ไผ่มีวัตถุประสงค์ในการผลิตกล้าไผ่จำนวนมากในระยะเวลา สั้น โดยมุ่งเน้นในการขยายพันธุ์ไม้ไผ่ที่ผลิตเมล็ดจำนวนน้อยหรือไม่สามารถผลิต เมล็ดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้ไผ่เศรษฐกิจ เช่น ไผ่ตง และ ไผ่เลี้ยง อย่างไรก็ดีมีผู้ศึกษาการเลี้ยงเนื้อเยื่อไม้ไผ่ไว้หลายชนิด โดยเลี้ยงส่วนของคัพภะ ส่วนของใบอ่อนและส่วนของกิ่งอ่อนที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-3 มิลลิเมตร ซึ่งถือว่าไม้ไผ่เป็นพืชชนิดหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการขยายพันธุ์โดยวิธี นี้ หลังจากที่ได้กล้าไผ่จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแล้วสามารถปฏิบัติต่อกล้า เช่นเดียวกับกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ด เนื่องจากมีขนาดใกล้เคียงกัน 

ไผ่ บงหวาน เป็นไผ่ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ลักษณะกอหุ้นแน่น ลำต้นคดงอ เนื้อในตัน แตกกิ่งตลอดลำ มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 3-5 เซนติเมตร สูงประมาณ 5-10 เมตร หน่อมีสีเขียว เนื้อละเอียด รสชาดหวานมัน กรอบ อร่อยคล้ายยอดมะพร้าว (หรืออาจรสชาดดีกว่ายอดมะพร้าวเสียอีก) สามารถทานดิบได้ ทานเป็นเครื่องเคียงแทนผักสด และสามารถนำไปประกอบอาหารแทนเมนูมะพร้าวได้ทุกเมนู ไม่ต้องนำมาต้มเพื่อให้รสขมของหน่อไม้หายไป ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษของไผ่พันธุ์นี้
         ด้วยคุณลักษณะเด่นของไผ่ชนิดนี้  น่าจะเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่อนาคตไกลให้แก่เกษตรกรอีกตัวหนึ่ง เนื่องจากยังไม่มีการปลูกอย่างแพร่หลาย หากมีการรวมกลุ่มหรือปลูกกันอยางจริงจัง




การผลิตไผ่บงหวานให้ออกหน่อนอกฤดู(สวนเพชรน้ำผึ้ง)
การ ผลิตไผ่บงหวานให้ออกตลอดทั้งปีจะต้องมีการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง  คุณลำ พึงบอกว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ที่ปลูกไผ่บงหวานมักจะปลูกแบบฝากเทวดาเลี้ยง “น้ำ ไม่ให้หญ้าก็ไม่กำจัด”ไม่มีการสางกอ ที่สวนไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้งจะมีการ จัดการสวนที่ดีและปฏิบัติเป็นประจำทุกเดือน อาทิ ภายในจะต้องโล่งจะต้องขุด หน่อที่อยู่ภายในกอออกมาบริโภคหรือจำหน่าย,ในการให้ปุ๋ยกับต้นไผ่บงหวานจะ ให้เพียง 10% เท่านั้น ที่เหลือเป็นปุ๋ยคอกทั้งสิ้น
++ เทคนิคผลิตหน่อไผ่บงหวานนอกฤดูของสวนเพชรน้ำผึ้ง ++
ในแต่ละเดือนจะนำปุ๋ยยูเรีย (สูตร 46 -0-0)อัตรา 10 กิโลกรัมนำผสมคลุกเคล้ากับปุ๋ยคอกเก่า อัตรา 90 กิโลกรัมแล้วใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพรดตามลงไป หมักทิ้งไว้ 1 คืน นำไปใส่ให้กับต้นไผ่บงหวานต้นละ 5-10 กิโลกรัม สิ่งสำคัญในการผลิตไผ่บงหวานนอกฤดูก็คือ การจัดการเรื่องการให้น้ำซึ่งถือว่ามีความจำเป็นมาก การให้น้ำจะใช้วิธีการแบบปล่อยน้ำเข้าร่องก็ได้ แต่ก่อนปลูกเกษตรกรจะต้องมีการปรับพื้นที่ปลูกเพื่อให้ไล่ระดับน้ำจากที่สูง ลงสู่ที่ต่ำ ซึ่งวิธีการแบบนี้จะช่วยประหยัดต้นทุนเกี่ยวกับการติดตั้งระบบน้ำ ในขณะที่ถ้ามีการติดระบบการให้น้ำอย่างดีและมีประสิทธิภาพจะมีการวางระบบน้ำ แบบแถวเดียวหรือแถวคู่ก็ได้ โดยหัว 1 หัวน้ำจะได้ 4 ต้นวางให้ห่างระยะ 3เมตร ใช้สปริงเกอร์หัวสูง

++ ขั้นตอนในการผลิตไผ่บงหวานนอกฤดู ++
ในเรื่องของการดูแลรักษาเพื่อที่จะผลิตไผ่บงหวานนอกฤดูนั้น ในแต่ละปี จะต้องมีการตัดแต่งลำไผ่เก่าของกอไผ่ออกปีละ 1 ครั้งในช่วงเดือนพฤศจิกายน โดยนำไม่ไผ่ที่ตัดออกไปใช้ทำไม้ค้ำยันต้นผลไม้ ที่เหลือนำไปเผาเป็นถ่านไม้ไผ่เพื่อใช้ในครัวเรือนเพราะเนื้อไม่ลำไผ่บงจะ ตัน ส่วนใบและกิ่งไผ่ทิ้งไว้ในแปลงปลูกไผ่ เพื่อให้จุลินทรีย์ย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยให้กับต้นไผ่ต่อไป ในช่วงฤดูฝนจะปล่อยให้หน่อไผ่แทงขึ้นเป็นลำ หนึ่งกอปล่อยให้ขึ้นเป็นลำเฉลี่ย 8-12 ลำ เพื่อเป็นลำแม่ที่จะให้หน่อในฤดูถัดไป ลำที่ขึ้นใหม่มามักจะแขนงออกตามข้อเกษตรกรจะต้องหมั่นตัดแขนงทิ้งด้วยมีด พร้า
** ด้วยสวนไผ่แห่งนี้มีการจัดการระบบการให้น้ำทีดีสามารถให้น้ำได้ตลอดทั้งปี สามารถเก็บหน่อไผ่บงหวานได้ตั้งแต่เดือนมกราคม – พฤษภาคม ของทุกปีและขายจากสวนได้ราคากิโลกรัมละ 50 -100 บาท สำหรับหน่อไผ่ที่ ออกในฤดูระหว่างเดือนมิถุนายน – ตุลาคม ขายจากสวนได้กิโลกรัมละ 35-30 บาท สรุปได้ว่าในแต่ละปีคุณวรรณบดีจัดเก็บหน่อไม้ไผ่บงหวานได้เกือบตลอดทั้งปี เว้นเฉพาะเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคมเท่านั้น ในพื้นที่ปลูกไผ่บงหวาน 1 ไร่ จะมีรายได้จากการขายหน่อเฉลี่ย 75,000 บาท
ปัจจุบัน สวนไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง ยังมีแปลงรวบรวมพันธุ์ไผ่หลากหลายสายพันธุ์เพื่อเปิดให้เกษตรกรและผู้สนใจ ได้เข้าศึกษาและเรียนรู้ อาทิ พันธุ์ไผ่ตงไต้หวัน, ไผ่เปาะช่อแฮ,ไผ่เลี้ยงสีทอง,ไผ่ซางหวานเมืองน่าน,ไผ่ตงชนิดต่างๆ,ไผ่หก,ไผ่ ซางหม่น,ไผ่หม่าจู ฯลฯ ปลูกไว้เพื่อเป็นข้อมูลเปรียบเทียบว่าไผ่ในแต่ละสายพันธุ์จะนำมาปลูกในเชิง พาณิชย์ได้ในรูปแบบใดบ้าง ไผ่แต่ละสายพันธุ์มีการจัดการแปลงปลูกอย่างไรในขณะนี้ทางสวนได้รับการสนับ สนุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดแพร่ ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ครูเกษตรกร เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรและผู้ที่สนใจในการปลูกไผ่เข้ามาศึกษาและเรียนรู้ เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจคัดเลือกพันธุ์ไผ่ที่จะปลูกต่อไป

เทคนิคการกระตุ้นกิ่งตอนไผ่ให้แตกยอด ปัจจุบัน มีเกษตรกรหลายคนที่หันมาทำการเกษตรเกี่ยวกับการปลูกไผ่ ซึ่งในการปลูกไผ่นี้ ก็ยังมีการขยายพันธุ์ไผ่จำหน่ายด้วย  ซึ่งการขยายพันธุ์ไผ่นี้มีความสำคัญ เรื่องไผ่ที่นำไปปลูกเกิดตาย   ปรับสภาพในดินใหม่ไม่ได้   เนื่องจากไผ่ที่ ขยายพันธุ์นั้นยังไม่ได้แข็งแรงและไม่มีความสมบูรณ์ของต้นพันธุ์  ซึ่งคุณ องอาจ  เกษตรกรบ้านหนองหิน ต.ศิลา อ.เมือง ขอนแก่น  มีวิธีการกระตุ้นต้น พันธุ์ไผ่ที่ผ่านการตอนให้มีความสมบูรณ์ก่อนนำไปปลูก ด้วยการกระตุ้นให้แตก ยอด ทำให้ต้นพันธุ์ที่ปลูกนั้นมีเปอร์เซ็นต์การรอดตายมากกว่า
++วัสดุอุปกรณ์ในการตอนกิ่งไผ่++
1.ขุยมะพร้าว แช่น้ำ 1 คืน
2.ถุงพลาสติก สำหรับห่อกิ่ง
3.เชือกฟาง
4.น้ำยาเร่งราก
++วิธีการตอนกิ่ง++
1.เลือกกิ่งที่ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป สังเกตสีของกิ่งไม่เขียวเข้มเกินไป และเลือกกิ่งที่มีความสมบูรณ์
2.ใช้น้ำยาเร่งรากทาบริเวณจุดข้อต่อกับลำต้น
3.หุ้มด้วยขุยมะพร้าวมัดด้วยถุงพลาสติก มัดด้วยเชือกฟางให้แน่น จากนั้นทิ้งไว้ 15 วัน จะเริ่มเห็นรากสีขาวของไผ่ออกมา ให้นับไปอีก 15 วัน หรือดูว่ามีการแตกยอดใหม่แล้วถือว่าใช้ได้ สามารถตัดกิ่งตอนลงถุงเพาะได้

++เทคนิคการกระตุ้นไผ่ให้ออกยอด++
นำถุงพลาสติกมาคลุมหลังจากการรดน้ำ ทำแบบนี้ทุกวัน ครบ 1 สัปดาห์ จะช่วยให้ไผ่มีการคายน้ำน้อย และเร่งการแตกยอดใหม่ได้ดี วิธีการนี้ทำให้ต้นพันธุ์ปลูกติดเร็ว และปรับตัวเข้ากับสภาพดินใหม่ได้เร็วขึ้น ลดเปอร์เซ็นต์การตายของกิ่งตอนใหม่ได้ถึง 95 %

การป้องกันสัตว์กัดแทะหน่อไผ่มัน
หน่อไผ่มัน ที่ เก็บมาใหม่ๆ นั้น สามารถกินดิบได้ทันที เนื่งอจากมีรสชาติกรอบ ไม่ขื่น ไม่ ขม ออกหวานเล็กน้อย จึงเป็นหน่อไม้ทานสดที่ให้รสชาติดี  นิยมทานเป็นผัก เคียงน้ำพริก ให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี นอกจากนี้ ไผ่มัน ยังเป็นไผ่ไม่ต้อง การการดูแลมากนัก แต่ปัญหาประการหนึ่งที่เกษตรกรผู้ปลูกมักพบเป็นประจำก็ คือ ปัญหาเรื่องสัตว์เล็ก ๆ เช่น หนู กระรอก กระแต ชอบเข้ากัดกิน ทำให้หน่อ ไ ผ่ได้รับความเสียหาย ขายไม่ได้ราคา ตลาดไม่ต้องการคุณกัญญารัตน์ จึงได้ คิดหาวิธีการป้องกันการเข้าทำลายของสัตว์ดังกล่าว โดยไม่ใช้สารเคมีและไม่ เป็นการทำบาปด้วยการใช้ขวดน้ำพลาสติกครอบหน่อไผ่ ซึ่งมีรายละเอียดในการ จัดการดังนี้


++ การเตรียมขวดน้ำก่อนนำไปใช้ ++ นำขวดน้ำพาสติกที่ใช้แล้ว มาตัดก้นขวดออกไปและเปิดฝาเอาไว้ นำขวดที่ตัดก้นขวดเรียบร้อยแล้ว ไปสวมเข้ากับหน่อไผ่ เมื่อเริ่มสังเกตุเห็นหน่อแทงขึ้นมาจากดิน วิธีการนี้เป็นการไม่ทำบาป และช่วยดูแลรักษาหน่อไผ่ได้เป็นอย่างดี

แก้อาการใบและต้นไผ่สามฤดูเหลืองด้วยแร่หินภูเขาไฟ
เป็นที่รู้กันดี ในผู้เลี้ยงไผ่สายพันธุ์เบาอย่าง “ไผ่เลี้ยง” หรือ “ไผ่ 3 ฤดู” ว่าไผ่ชนิด นี้จะมีหน่อตลอดทั้งปี โดยจะเริ่มให้หน่อชุดแรกหลังปลูก 6 เดือน และจะทยอย ให้เก็บเกี่ยวหน่อไผ่ได้ทุกวัน  ซึ่งปริมาณผลผลิตจะขึ้นอยู่กับการดูแล รักษา เช่น การให้น้ำ ให้ปุ๋ยและการตัดแต่งกิ่ง
ต่อ เมื่อตัดหน่อขายไปจนถึงช่วงกลางปี หรือประมาณ เดือน กรกฎาคม – เดือนสิงหาคม ไผ่จะหยุดให้หน่อไปประมาณ 1 เดือน แล้วจะเริ่มให้หน่ออีกครั้งตามปกติ ราวเดือนมกราคมก็จะหยุดให้หน่อไปนาน 1เดือน ต่อเมื่อบำรุงรักษาต่อไปจนผ่านช่วงนี้ไผ่ก็จะให้หน่อได้ตามปกติ และ จะให้ผลผลิตสูงสุดช่วงเดือน พฤษภาคม – เดือนมิถุนายน
** แต่ในระหว่างที่ไผ่ 3 ฤดูให้หน่อและหยุดให้หน่อจะมีช่วงที่ใบและต้นมีอาการเหลือง ทำให้ให้หน่อได้ไม่เต็มที่ ซึ่งมักจะพบเป็นประจำในการปลูกไผ่สามฤดูเพื่อผลิตหน่อสด ต่อให้แก้อาการด้วยการให้ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยคอก ก็ยังไม่สามารถแก้ไขอาการเหลืองของไผ่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ต่อเมื่อลุง เหรียญ หิรัญรัตน์ ผู้ปลูกไผ่3 ฤดูได้แนะวิธีแก้อาการไผ่เหลืองในจากประสบการณ์ไว้ในนิตยสารไม่ลองไม่รู้ ฉบับประจำเดือน ธันวาคม 2553 ซึ่งเห็นเป็นประโยชน์สมควรเผยแพร่ต่อไป ไว้ดังนี้
วิธีแก้อาการต้นและใบไผ่เหลือง : ให้ใช้แร่หินภูเขาไฟจำนวน 1 กระสอบ ผสมกับ ปุ๋ยชีวภาพ จำนวน 1 กระสอบ หรือใช้อัตรา 1 ต่อ 1 ส่วน ในการบำรุงไผ่ที่มีอาการต้นและใบเหลืองแทนการใช้ปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆไม่นาน

การบำรุงไผ่เลี้ยงให้ออกหน่อทั้งปี
ไผ่เลี้ยงหากมีการดูแลบำรุงเป็นอย่างดีก็จะสร้างรายได้ให้กับผู้ปลูกได้ตลอดทั้งปี
วิธีการปลูกไผ่เลี้ยงและเทคนิคการบำรุงให้หน่อไม้ออกหน่อตลอดทั้งปี :
- ขุดหลุมลึก 50*50 เซนติเมตร
- ใช้ปุ๋ยคอกผสมคลุกเคล้ากับดินรองก้นหลุม ประมาณหลุมละ 1 ปี๊บ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
- เสียบตอพันธุ์ปลูกลึกลงไปประมาณ 1 คืบ
- กลบดินแล้วรดน้ำให้ชุ่มอีกครั้ง
- นำเศษฟางหรือเศษหญ้ามาคลุมโคนต้นไผ่ไว้ตลอดเวลาเพื่อเป็นการเก็บรักษาความชื้นในดินให้สม่ำเสมอ
- รดน้ำทุกวันจนกระทั่งไผ่แตกหน่อ จึงเปลี่ยนเป็นรดน้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
- สังเกตสีของใบไผ่ ถ้าสีเริ่มจางให้ใส่ปุ๋ยขี้หมู 3 กิโลกรัม/ ต้น แล้วฉีดพ่นด้วยน้ำแม่ ในอัตรา น้ำแม่ 1 ลิตร+น้ำ 10 ลิตร / 2 กอ ประมาณเดือนละ 1 ครั้ง
- ไผ่เลี้ยงอายุประมาณ 3 เดือน ก็เริ่มเก็บผลผลิตมาประกอบอาหารได้แล้ว
เทคนิคการบำรุงหน่อไม้ไผ่เลี้ยง :
- ใช้เศษหญ้า หรือ ฟางแห้ง มาคลุมโคนต้นไผ่ไว้ แล้วรดน้ำ สัปดาห์ละครั้ง เพื่อเป็นการรักษาความชื้นไว้ให้สม่ำเสมอ
- บำรุงปุ๋ยขี้หมู + น้ำแม่ ฉีดพ่นเดือนละ 1 ครั้ง จะช่วยให้หน่อไม้ออกผลผลิตดีต่อเนื่องตลอดทั้งปี
สูตรการทำน้ำหมักแม่ :
++ วัตถุดิบ ++
- หน่อกล้วย จำนวน 5 กิโลกรัม
- หน่อไม้สด จำนวน 5 กิโลกรัม
- พืชสดทุกอย่าง จำนวน 5 กิโลกรัม
- กากน้ำตาล จำนวน 10 ลิตร
- สาร พด.2 จำนวน 1 ซอง
++ วิธีการ ++
- สับวัตถุดิบทุกอย่างให้เป็นชิ้นเล็กๆ หมักกากน้ำตาลคลุกเคล้าให้เข้ากัน ใส่ถังหมัก ปิดฝาตั้งไว้ในที่ร่ม หมักนาน 45-90 วัน นำไปใช้ประโยชน์ได้
ประโยชน์
- บำรุงรากและลำต้นสำหรับไม้ผลทุกชนิด
- บำรุงดิน พร้อมเพิ่มธาตุอาหารในดินให้ดินมีความร่วนซุยสมบูรณ์

กระตุ้นหน่อไผ่ด้วยเศษหน่อไม้
บ้านห้วย เดื่อ ต.ศรีฐาน อ.ภูกระดึง จ.เลย   เป็นพื้นที่ที่ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ ของผืนป่า เนื่องจากอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง  ซึ่งส่วนหนึ่ง เกษตรในพื้นที่มีการดูแลป่าไม้ร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วม ในการรักษาป่า ทำให้ป่าได้มีส่วนเกื้อกูลให้เกิดรายได้นั่นคือ อาชีพจากการ แปรรูปหน่อไม้ป่า ซึ่งที่นี่ถือว่าเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน ดังนั้นก็ ไม่แปลกที่จะมีส่วนเศษเหลือจากการแปรรูปหน่อไม้อยู่วันละ  ไม่ต่ำ กว่า 500  กก. /วัน/ครอบครัว  ซึ่งแนวคิดที่จะนำเอาเศษเหลือจากหน่อไม้ที่ เหลือไปใช้ให้เกิดประโยชน์นี้เป็นของคุณปราณี  เขตมนตรี  เกษตรกรผู้แปรรูป หน่อไม้และปลูกไผ่เลี้ยง แห่งบ้านห้วยเดื่อ มาฝากกัน
วิธีการทำ
นำเศษหน่อไม้ที่เหลือจากการแปรรูปมาใส่บริเวณทรงพุ่มของไผ่กอละ 20 ก.ก. จากนั้นราดทับด้วยน้ำหมักจุลินทรีจากหอยเชอรี่ สัดส่วน น้ำหมัก 2 ช้อนโต๊ะ /น้ำ 20 ลิตร ราดให้ทั่วทั้งกองเศษหน่อไม้ให้ชุ่ม ปล่อยทิ้งให้ย่อยสลายเอง เพียง 20 วัน ให้น้ำไผ่ปกติ ผลที่ได้รับคือ ในช่วงหน้าแล้งแม้ว่าขาดน้ำก็ตาม ดินในพื้นที่ป่าไผ่จะยังคงชุ่มอยู่ และจะมีการแตกหน่อของไผ่นอกฤดูได้ดียิ่งขึ้น
หมายเหตุ นอกการการนำไปใส่ในพื้นที่สวนไผ่นอกฤดูแล้ว ยังสามารถนำไปใส่นาข้าว ทำให้นาข้าวไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมี ก็มีผลผลิตใกล้เคียงกันกับการใส่ปุ๋ยเคมีเลยทีเดียว ที่สำคัญคือลดต้นทุนการผลิตได้มาก

การใช้จุลินทรีย์หน่อกล้วยกระตุ้นหน่อไผ่ ไผ่เลี้ยง หวาน ปัจจุบันผู้บริโภคมีความต้องการมากขึ้น เนื่องจากไผ่เลี้ยงหวานมีรส ชาติ หวาน กรอบ อร่อย  แต่เกษตรกรยังไม่สามารถผลิตให้ไผ่สามารถออกได้ทั้ง ปี โดยเฉพาะในช่วงเดือนกุมภาพัน-มีนาคม หน่อไผ่จะราคาสูงมาก แต่พอถึงเมษายน -พฤษภาคมจะราคาถูกเพราะหน่อไผ่จะออกช่วงนี้ ไม่ว่าจะเป็นไผ่ที่เกษตรกรปลูก หรือไผ่ป่า ดังนั้นถ้าเกษตรกรควบคุมและบังคับให้ไผ่ออกในช่วงนี้ ได้ (กุมภาพันธ์-มีนาคม)  จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกจำนวนไม่น้อย จากการปลูกไผ่ คุณสวัสดิ์ อกนิตย์ เกษตรกร บ้านหัวเรือ ต.หัว เรือ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี  จึงได้ศึกษาและนำน้ำหมักจุลินทรีย์หน่อ กล้วย  ซึ่งได้ไปอบรมที่ค่ายทหารป่าดงนาทาม จ. อุบลราชธานี และนำมาทดลองใช้ กับไผ่เลี้ยง
ผลปรากฏว่าสามารถใช้ได้ดี และทำให้ไผ่ที่ปลูกออกหน่อเร็วขึ้น และแตกหน่อ เยอะ อีกทั้งหน่อมีขนาดใหญ่ และยังสามารถนำน้ำหมักดังกล่าวไปใช้ได้ในการทำ นา โดยนำไปรดก่อนการไถกลบตอซังข้าว ทำให้ตอซังข้าวย่อยสลายได้เร็วขึ้น ใช้ ล้างทำความสะอาดคอกสัตว์
น้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วย
การผลิตจุลินทรีย์หน่อกล้วย :
ส่วนผสม
-หน่อกล้วยสับละเอียด 30 กิโลกรัม
-กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม
-สารเร่ง พด.2 1 ซอง
-น้ำ 100 ลิตร
วิธีการทำ
หน่อกล้วยอ่อนความสูงจากพื้นดิน 1 เมตร ขุดเหง้าสลัดเอาดินออกไม่ต้องล้างน้ำ เอาทั้งเหง้าต้น นำหน่อกล้วยสับละเอียดใส่ถังพลาสติกทึบแสงขนาดจุ 150- 200 ลิตร คลุกเคล้ากับกากน้ำตาล เติมน้ำสะอาดลงถังเกือบเต็ม ละลายสารเร่ง พด.2 คนติดต่อกัน 5 – 10 นาที ก่อนใส่ถังคนให้เข้ากัน(ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่ก็ได้) ปิดฝาให้สนิท 2 วัน 2 คืน (48 ชั่วโมง) ไม่ให้อากาศเข้า (ไม่ให้จุลินทรีย์ภายนอกเข้าไป) หลัง 48 ชั่วโมงแล้ว ให้เปิดฝาถังคนทุกวัน และคอยกดวัสดุให้จมน้ำอยู่เสมอ หมักไว้ในร่มนาน 7 วัน (จนหมดฟอง) นำกากกล้วยออกจากถังไปใส่โคนต้นไผ่หรือในแปลงนาเพื่อเป็นปุ๋ยให้หมดเหลือแต่ น้ำ สามารถเก็บได้นานถึง 6 เดือน
วิธีการนำไปใช้กระตุ้นหน่อไผ่
นำจุลินทรีย์หน่อกล้วยอัตรา 20 – 40 ซีซี มาผสมน้ำ 20 ลิตร หรือถ้าไม่ผสมน้ำก็สามารถนำน้ำหมักหน่อกล้วยราดรดโคนไผ่ได้เลย การใช้จะใช้ 7-10 วัน /ครั้ง (ยิ่งบ่อยเท่าไหร่ยิ่งดี)
นำไปราดรดรอบโคนไผ่ก็จะช่วยย่อยสลายเศษซากวัชพืช ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ทำให้พืชสามารถดึงธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ได้อย่างสะดวกมากขึ้น ทำให้ไผ่ออกหน่อเร็ว แตกหน่อเยอะและหน่อใหญ่
ประโยชน์เพิ่มเติมของจุลินทรีย์หน่อกล้วย
1.ปรับปรุงโครงสร้างของดิน และ กำจัดเชื้อโรคในดิน ผสมจุลิทรีย์หน่อกล้วย 20-40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดรดลงดินร่วมไปพร้อมๆกับการให้น้ำ ซึ่งการใช้ในแต่ละครั้ง รวมทั้งหมดแล้ว อย่าให้เกิน 3 ลิตร ต่อ ไร่
2. ป้องกันกำจัดโรคพืช ผสมจุลิทรีย์หน่อกล้วย 20-40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดต้นพืชให้เปียกชุ่ม ทั้งบนใบและใต้ใบ เพื่อล้างน้ำฝน ภายหลังจากที่ฝนหยุดตกแล้วนานเกิน 30 นาที ฉีดพ่นล้างหมอกก่อนแดดออก ฉีดพ่นป้องกันโรคที่มากับน้ำค้างช่วงตอนเย็น หรือฉีดพ่นในอัตรา 40 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่อพบการระบาดของโรคพืช ทั้งเว้นการให้น้ำ 48 ชั่วโมง เพื่อลดความชื้น
3. ปรับปรุงคุณภาพน้ำในร่องสวน สระเก็บกักน้ำ และบ่อเลี้ยวสัตว์น้ำ ใส่จุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 ลิตร ต่อน้ำ 10,000 ลิตร
4.ล้างทำความสะอาดคอกสัตว์ ฉีดพ่นด้วยน้ำจุลินทรีย์ 1 ลิตร ต่อน้ำ 100 ลิตร
5. เร่งการย่อยสลายเศษซากอินทรีย์วัตถุ หรือดับกลิ่นขยะของเน่าเสีย ฉีดพ่นด้วย จุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 ลิตรต่อน้ำ 100 ลิตร กรณีหมักฟางในนาข้าว ใช้จุลินทรีย์หน่อกล้วย 10 ลิตร ต่อ พื้นนา 1 ไร่

เทคนิคกระตุ้นไผ่ให้ออกหน่อ ด้วยการตัดแต่งกิ่ง
ทีมงานร่วมด้วย ช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด จ.ยะลา ได้ลงพื้นที่ไปพบกับคุณกัลยา จันทร์ ศรี เกษตรกรบ้านไม้แก่น อ.รามัน จ.ยะลา และได้พบกับการทำการเกษตรมาก มาย ซึ่งภายในบริเวณของคุณป้ากัลยา จะเป็นสวนแบบผสมผสาน มีชะอม มะนาว ไม้ ไผ่ บ่อปลา พืชสวนครัว ฯลฯ .
อยากนำเสนอ มีสิ่งหนึ่งคือการกระตุ้นหน่อไม้ให้ออกเพิ่มกว่าเดิม คือการเผากอไผ่ให้ไหม้ โดยเริ่มจากการแต่งรอบๆกอ แล้วเผา จากนั้นก็เริ่มใส่ปุ๋ยคอกผสมเกลือเม็ด รดน้ำทุกวัน จะสังเกตเห็นว่าเดิมหน่อไผ่จะออกประมาณ5 หน่อ แต่มาทำการแบบนี้แล้วจะออกเพิ่มมากกว่าเดิมเท่าตัว
การทำน้ำยาเร่งรากไผ่
การ ทำน้ำยาสูตรเร่งราก สูตรนี้ถูกเปิดเผยโดยลุงดำ ผู้ดูแลสวนไผ่บุญคุ้ม ได้ ทดลองทำมานานพอสมควร โดยการอ่านจากตำราหลายเล่มมารวมๆกัน จนสามารถทดลองทำ และทดลองใช้จนได้ผลดีกับการตอนกิ่งไม้ผล ไม้ไผ่ และใช้เร่งรากก่อนเพาะลงถุง ได้เป็นอย่างดี มีวิธีการทำสูตรน้ำยาเร่งรากโดยการใช้วัสดุจากธรรมชาติ ดัง นี้

วัสดุอุปกรณ์
-มะละกอสุกทั้งเปลือก 2 กิโลกรัม
-กล้วยสุกทั้งเปลือก 2 กิโลกรัม
-ฟักทองสุกทั้งเปลือก 2 กิโลกรัม
-อีเอ็ม ½ ลิตร
-น้ำเปล่า 10 ลิตร
วิธีทำ
-สับหั่น มะละกอสุก กล้วยสุก ฟักทองสุก ทั้งเปลือก รวมกัน
-ผสมน้ำและอีเอ็ม ตามปริมาณให้เข้ากันในถังหมัก
-จากนั้นเทวัสดุที่สับหั่นรวมกันดังกล่าว ลงในถังหมัก ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ จะเกิดวุ้น ฝ้าสีขาวๆเป็นก้อนๆคลุมทับหน้าน้ำหมัก
-ตักเอาวุ้นฝ้าสีขาวๆมาใช้เป็นน้ำยาเร่งราก
-ส่วนกากและน้ำที่เหลือนำไปเป็นปุ๋ยผสมกับปุ๋ยดินเพาะในถุงดำหรือผสมกับแกลบดำก็ได้
วิธีการนำไปใช้
-หลังจากได้วุ้นสีขาวๆ ให้ตักวุ้นเร่งราก ที่เรียกว่า น้ำยาเร่งรากสูตรทำเอง ใช้ 1 ขัน ผสมน้ำ 60 ลิตร ไว้สำหรับแช่ต้นกิ่งพันธุ์ไผ่ 1 คืน (กิ่งไผ่ที่ผ่านขยายพันธุ์ไผ่ด้วยวิธีเร่งราก )ก่อนนำไปเพาะในถุงเพาะชำ
-วุ้นสูตรน้ำยาเร่งราก สามารถใช้มาทาบริเวณข้อกิ่งพันธุ์ไผ่ก่อนการตอนกิ่งพันธุ์ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของราก
-วุ้นสูตรน้ำยาเร่งราก สามารถใช้มาทาบริเวณกิ่งตอน พันธุ์ไม้ผลหลังจากขูดเนื้อเยื่อ ใช้ทารอบๆ ก่อนการตอนกิ่งพันธุ์ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของราก ย่นระยะเวลาการตอนกิ่งให้สั้นลง

”ปลูกไผ่บงหวาน 3 ไร่” สร้างรายได้งามที่นครสวรรค์
คุณ ฐณะณัฐ  ระมั่งทอง  เจ้าของสวนสรภพ เลขที่ 82/1 ม.9 ต.พระนอน อ. เมือง จ.นครสวรรค์ โทรศัพท์ 08-7322-9446 ปลูกไผ่บงหวานพื้นที่ กว่า 3 ไร่ ได้ให้ข้อแนะนำและข้อสรุปจากประสบการณ์เกี่ยวกับไผ่บงหวานว่า เป็นไผ่อีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจและสร้างรายได้ดี
++ การพิจารณาเลือกปลูกไผ่บงหวาน ++
คุณฐณะณัฐโดนพิษเศษฐกิจปีพ.ศ.2540 ต้องออกจากงานประจำในกรุงเทพมหานคร หลังจากนั้นได้มองหาอาชีพหลายอย่าง ตั้งแต่ไปขายกล้วยปิ้งที่ต้องขายบนรถแต่ในกรุงเทพมหานครและหาพื้นที่จออดยาก มาก ไม่นานก็ต้องเลิกไป จากนั้นก็ไปขับแท็กซี่และไปขายเตาประหยัดพลังงานสุดท้ายก็กลับมาที่บ้าน จ. นครสวรรค์ได้ปรึกษากับพ่อได้ข้อมูลว่าในหมู่บ้านมีคนทำสวนไผ่เลี้ยงอยู่ มีโอกาสได้ไปดูสวนดังกล่าวจึงเกิดความสนใจคิดจะปลูกไผ่ขึ้นมาก็เริ่มมาหา ข้อมูลว่าไผ่พันธุ์ที่มีความน่าสนใจบ้างและคุณฐณะณัฐได้ยกตัวอย่าง “ไผ่เลี้ยง” เป็นไผ่ที่ค่อนข้างให้หน่อดก มีน้ำหนักดี ขายลำไผ่ได้ดีเพราะลำไผ่ตรงแต่หน่อสดมีรสชาติขมหากจะบริโภคก็จะต้องต้มอีก หลายน้ำจึงจะทานได้ เหมาะกับตลาดทางด้านภาคอีสานมากกว่าที่พฤติกรรมการบริโภค คนอีสานจะทานรสชาติหน่อไม้ที่มีรสขมมากกว่าภาคอื่น หรือ “ไผ่ตง” ทานดิบก็ไม่ขม ก็ต้องต้มอีกหลายน้ำเช่นกัน
“ไผ่บงหวาน”มีความพิเศษตรงสามารถทานหน่อดิบได้ทันที หน่อดิบจะรสชาติหวาน ไม่มีรสชาติขม มีความกรอบอร่อย สามารถทานเป็นผักสดกับน้ำพริกหรือประกอบอาหารก็ไม่ต้องต้มน้ำทิ้งก่อนสามารถ หั่นสับผัด หรือ แกงได้ทันที อย่างเมนูแนะนำคือ ส้มตำไผ่บงหวาน อร่อยมาก หน่อไผ่บงหวานมันสามารถใช้แทน “คอมะพร้าวอ่อน”ได้ดีทีเดียว เป็นจุดเด่นที่ลูกค้ามาซื้อหน่อไผ่บงหวานไปทาน จะต้องกลับมาซื้ออีกทุกราย แล้วก็จะถามถึงพันธุ์ต้นไผ่บงหวาน เพื่อเอาไปปลูกที่บ้านอีก ดังนั้นนอกจากขายหน่อแล้วก็ยังมีรายได้จากการขายพันธุ์ไผ่อีกทางหนึ่ง

++ ข้อควรพิจารณาก่อนตัดสินใจเลือกปลูกไผ่บงหวาน ++
1.) พื้นที่ไม่ควรจะเป็นพื้นที่น้ำท่วมขัง โดยธรรมชาติแล้วไผ่เป็นพืชที่ชอบน้ำ ชอบความชุ่มชื้น เช่นเดียวกันหากฤดูแล้งต้นไผ่ได้น้ำดีและปุ๋ยดีไผ่บงหวานก็จะให้หน่อดก เหมือนกับช่วงฤดูฝนตามธรรมชาตินั่นเอง แต่หากพื้นที่ใดมีน้ำท่วมขังแฉะหรือเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ก็มักจะปลูกไผ่บงหวานไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ส่วนสภาพดินนั้น แม้จะเป็นดินเลว เช่น ดินเหนียว,ดินลูกรัง, ดินดาน ฯลฯ สามารถปลูกไผ่บงหวานได้ เพียงแต่ในการปลูกไผ่บงหวานครั้งแรกควรจะต้องมีการช่วยปรับปรุงโครงสร้างดิน ให้ดีเป็นพิเศษ เช่น มีการคลุกเคล้ารองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกเก่าผสมกับพวกเศษวัสดุทางเกษตรเหลือใช้ เช่น เปลือกถั่ว, แกลบดิน, ฟางข้าวสับ,ปุ๋ยหมัก,กากอ้อย และ ซังข้าวโพดเป็นต้น โดยการขุดหลุมปลูกไผ่บงหวาน หากสภาพดินไม่ดีให้ขุดหลุมมีขนาดใหญ่ขึ้น ขนาดกว้าง, ยาว และลึก 50 เซนติเมตร เพื่อให้ต้นไผ่เจริญเติบโตแทงหน่อเป็นลำต้นได้ดีในช่วง 1 ปีแรก เมื่อพ้น 1 ปีแรกไปแล้วต้นไผ่ก็จะค่อนข้างมีความแข็งแรงเจริญเติบโตสู้กับสภาพดินไม่ดี ได้แล้ว แต่ในทุกๆปีจำเป็นต้องมีการใส่อินทรียวัตถุให้กับกอไผ่อย่างสม่ำเสมอแต่พอ นานไป ใบไผ่ที่ร่วงโรยในสวนจะทับถม ช่วยปรับโครงสร้างให้ดีอีกทาหนึ่งและรักษาความชุ่มชื้นได้อีกทาง
2.)แหล่งน้ำจะต้องดี ไผ่ทุกสายพันธุ์เป็นพืชที่ชอบความชุ่มชื้น ชอบน้ำพอสมควร แล้วการทำให้ต้นไผ่มีหน่อได้ในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งเป็นช่วงที่หน่อไม้จากธรรมชาติในตลาดมีน้อยราคาหน่อไม้จะสูงขึ้นนั้นก็ จำเป็นที่จะต้องมีการให้น้ำกับต้นไผ่อย่างสม่ำเสมอทั้งสวนไผ่จะต้องให้ความ สำคัญกับเรื่องน้ำเป็นอันดับแรก ส่วนระบบของการให้น้ำก็เลือกใช้ได้ตามกำลังทรัพย์ เช่น วางระบบหัวน้ำสปริงเกอร์ซึ่งสร้างความสะดวกต่อการให้น้ำและค่อนข้างมี ประสิทธิภาพดี สามารถให้น้ำกับต้นไผ่ได้บ่อยครั้งและเวลาไม่นาน เช่น วันละ 3 เวลา จะเป็นการสร้างบรรยากาศให้ต้นไผ่มีความชุ่มชื้นเหมาะแก่การเจริญและออกหน่อ ได้ดีหรือจะเป็นการปล่อยน้ำเข้าตามร่อง การให้น้ำเข้าร่องต้องให้น้ำสูงท่วมกอไผ่จึงจะใช้ได้ หากจะเลือกวิธีการปล่อยน้ำเข้าร่องจะต้องเตรียมพื้นที่ให้มีความลาดเอียง ตั้งแต่แรกด้วย หรือจะใช้สายยางเดินรดก็ได้
3.) ระยะปลูกต้องเหมาะสม จากประสบการณ์ที่ผ่านมา คุณฐณะณัฐ เล่าว่า ในตอนเริ่มต้นของตนเองมองข้ามช่วงระยะปลูกที่เหมาะสมของไผ่บงหวานไปมองเพียง ว่าจะปลูกจำนวนต้นต่อไร่ให้มากที่สุด โดยเลือกปลูกระยะ 2X2 เมตร ซึ่ง 1 ไร่ จะปลูกได้ถึง 400 ต้น ถือว่าเป็นระยะปลูกที่เยอะเกินไป การจัดการสวนเป็นไปด้วยความลำบาก เช่น การเดินเข้าไปทำงานยังต้องก้มตัวเดินใน 2 ปีแรก ไม่สามารถเอารถวิ่งเข้าไปได้หากมีการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมี เดินเข้าไปเก็บหน่อก็ลำบากเช่นกัน แล้วการเจริญเติบโตของของต้นไผ่เองจะการเจริญขยายกอออกไปนอกกอทุกๆปี หากปลูกระยะ 2X2 เมตร เพียง 3-4 ปี กอไผ่ก็จะชนกันแน่นแล้ว
** สรุปได้ว่าระยะปลูกไผ่บงหวานที่เหมาะสมที่สุด ควรจะมีระยะห่างอย่างน้อยที่สุด 2.5 X 2.5เมตร ในกรณีปลูกแถวคู่ ระยะปลูก 2.5 X 2.5เมตร ก็อาจจะเว้นทางเดิน 4เมตร ก็สามารถเอารถไถเล็กหรือรถไถเดินทางเข้าปฏิบัติงานได้ง่ายก็จะยิ่งเบาแรง ทั้งนี้ระยะปลูกแบบใดนั้น ผู้ปลูกก็ต้องพิจารณาตามปัจจัยของแต่ละท่าน
การปลูกและการดูแลรักษาไผ่บงหวานของสวน สรภพ :
++ การปลูก ++ หากสภาพดินดีจะขุดหลุมที่มีขนาดกว้าง, ยาว และ ลึก 30 เซนติเมตร เป็นอย่างน้อย แต่ในบางพื้นที่สภาพดินไม่ดี เป็นดินเหนียว, ดินลูกรัง, ดินดาน ฯลฯ ก็ควรจะขุดหลุมปลูกให้กว้างขึ้น เพื่อจะได้ใส่ปุ๋ยคอกหรือวัสดุเช่นพวกเปลือกถั่ว,แกลบดิบ ฯลฯ ปรับปรุงโครงสร้างดินให้ดีขึ้น คลุกเคล้าวัสดุต่างๆ กับดินส่วนหนึ่งในหลุม จากนั้นนำต้นพันธุ์ไผ่บงหวานที่ชำในถุงดำแข็งแรงดีแล้ว ฉีกถุงดำออกวางต้นพันธุ์ลงกลางหลุมปลูกแล้วกลบด้วยดินส่วนที่เหลือให้ดินพูน สูงต้นไผ่เล็กน้อย เมื่อดินได้น้ำไม่นานดินก็จะยุบตัวมาเสมอกับระดับดินเดิม แต่การกลบหลุมปลูกอย่าอัดดินให้แน่นจนเกินไปนัก ซึ่งส่งผลต่อการแทงหน่อหรือลำต้นใหม่ได้ยากขึ้น หากเป็นพื้นที่มีลมแรงก็ควรใช้ไม้ปักเป็นหลักผูกยึดต้นไผ่ป้องกันลมโยก หลังจากปลูกเสร็จจำเป็นต้องรดน้ำตามทันที เพื่อให้เม็ดติดกระชับราก ต้นพันธุ์ไผ่บงหวานนั้น ก่อนจะปลูกนั้นควรมีการเอาต้นพันธุ์ไผ่บงหวานออกแดดให้มีการปรับสภาพเสีย ก่อนอย่างน้อย 1 เดือน เพราะก่อนหน้านี้ต้นไผ่เองจะถูกเลี้ยงใต้ร่มแสลนมาโดยตลอด
++ ฤดูกาลปลูก ++ ถ้ามีแหล่งน้ำดีก็สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่จากประสบการณ์ของคุณฐณะณัฐพบว่า ปลุกไผ่บงหวานในช่วงเดือนมีนาคม – เดือนเมษายน ก่อนเข้าฤดูฝนต้นไผ่จะมีการเจริญเติบโตเร็วกว่า การที่ปลูกไผ่บงหวานในฤดูฝน เหตุผลคือ หากปลูกไผ่บงหวานก่อนเข้าฤดูฝนต้นไผ่จะตั้งตัวและออกรากก่อนเข้าฤดูฝน เมื่อฝนมาไผ่ก็จะทำให้ไผ่เจริญเติบโตเร็วมาก แต่หากปลูกในช่วงฤดูฝนเลย ต้นไผ่ก็ต้องการปรับสภาพในช่วงแรก บางครั้งฝนตกมากมีน้ำขังแฉะก็ทำให้ต้นไผ่ชะงักการเจริญเติบโตบ้าง รากเน่าบ้างหากเทียบกับการเจริญเติบโตแล้วสู้วิธีการปลูกในช่วงฤดูฝนไม่ได้ โดยวิธีการดังกล่าวก็สังเกตมาจากการปลูกอ้อยที่มักจะปลูกล่วงหน้า 1-2 เดือนก่อนเข้าฤดูฝนนั้นเอง
++ การดูแลรักษาต้นไผ่บงหวาน ++ ช่วง 1 ปีแรกก็จะมีเรื่อง ”ตัดหญ้า” ให้สวนไผ่สะอาด โปร่งอยู่อย่างสม่ำเสมอ แต่เมื่อไผ่มี่อายุ 2 ปีขึ้นไป ต้นไผ่มีใบปกคลุมสร้างร่มทั้งสวน แสงแดดส่องไม่ถึงหญ้าก็จะไม่ขึ้นก็จะลดภาระการตัดหญ้าลงไปทันที และต้องหมั่นระวังไฟป่าหรือมีแนวกันไฟรอบสวนไผ่ก็จะเป็นการดี เรื่องการสางกอไผ่ ไผ่จะมีการแตกหน่อเจริญเป็นลำไผ่ แต่ก็จะมีกิ่งแขนง หน่อเล็กๆที่แตกตามตาของส่วนต่างๆมากมาย ก็ควรจะต้องใช้มีดหรือกรรไกรตัดแต่งกิ่งเหล่านั้นออกให้หมด ให้กอไผ่มีแต่ลำไผ่หลักเทท่านั้น ต้องหมั่นสางกอให้โล่งสะอาดอยู่เป็นประจำ

++ การใส่ปุ๋ย ++ ในช่วงเดือนมีนาคม – เดือนเมษายนจะเน้นใส่ปุ๋ยคอกให้กับไผ่บงหวานเป็นหลัก ใช้อัตรา 10 -20 กิโลกรัมต่อกอ โรยใส่เป็นวงกลมรอบกอไผ่และทุกๆ 2-3 เดือนก็จะมีการใส่ปุ๋ยเคมีช่วยบำรุงอีกด้วยสูตร 16-16-16 แต่หากจะต้องการเร่งการออกหน่อ นอกจากการใส่ปุ๋ยปกติแล้ว จะมีการใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) หรือสูตรใกล้เคียง ในอัตรา 0.5-1 กิโลกรัม โดยหว่านให้รอบๆกอไผ่ ในการใส่ปุ๋ยเคมีให้กับไผ่บงหวาน พึงต้องระวังอย่าให้ปุ๋ยเคมีโดยหน่อ เพราะจะทำให้หน่อเน่าได้หรือหากจะต้องการเพิ่มรสชาติหน่อไม้หวานขึ้นก็อาจ ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 สลับกับปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ก็ได้
++ การไว้ลำของไผ่บงหวาน ++ ไผ่บงหวานเมื่อปลูกใน 1 ปีแรก จะมีลำไผ่ราว 4 – 8 ลำ ซึ่งในระยะนี้จะไม่มีการเก็บหน่อมากนัก เนื่องจากจะต้องเลี้ยงปล่อยให้เป็นลำแม่ต่อไป การดูแลในช่วงนี้จะทำการตัดแต่งกิ่งแขนงเล็กๆ ทั้งจากโคนต้นหรือตามตาลำไผ่ออก เมื่อไผ่บงหวานอายุพ้น 1 ปีไปแล้วก็จะเริ่มเก็บหน่อออกจำหน่ายได้บ้าง ในการตัดหน่อควรจะตัดจากกลางกอก่อนแล้วค่อยขยายออกมารอบนอกกอ ซึ่งหน่อด้านนอกๆ ควรจะต้องเลือกเก็บรักษาไว้บางส่วนเพื่อใช้เป็นลำแม่ การพิจาณาเลือกไว้ลำไผ่นั้น ให้เลือกลำไผ่ที่อวบใหญ่และมีทิศทางการเจริญขยายออกนอกกอเป็นวงกลม ก็จะส่งผลให้กอใหญ่ขึ้น มีหน่อมากขึ้นในปีถัดไปและทำงานได้สะดวกเมื่อจะเข้าไปตัดหน่อ หรือดูแลรักษา
** ในการตัดแต่งกอไผ่บงหวานหรือการสางกอหรือการล้างกอไผ่นั้น ควรจะต้องทำปีละ 1 ครั้งคุณฐณะณัฐจะเริ่มตัดแต่งกอไผ่บงหวาน ช่วงปลายฤดูฝนหรือเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ธรรมชาติของไผ่เมื่อจะเข้าสู่ฤดูหนาวนั้นต้นไผ่ตะมีการชะงักการเจริญเติบโต ชั่วขณะให้เลือกตัดแต่งกิ่งแขนงด้วยกรรไกรตัดแต่งกิ่ง ส่วนกิ่งที่แตกตามตาของลำไผ่ให้ใช้มีดพร้าวับบริเวณดังกล่าว การสับนั้นควรสับให้ตาติดเปลือกไผ่ไปเลย หากตาดังกล่าวไม่ขาดมันจะแทงหน่อหรือกิ่งแขนงเล็กๆ มากตลอดทั้งปี แต่ถ้าหากสับตาจนขาดก็จะไม่มีแขนงขึ้นมาอีกเลยส่วนลำไผ่แม่เดิมให้ใช้แสลง หรือเสียมที่มีความคมแทงลำไผ่เดิมออกไป ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วให้ไว้ลำแม่ใหม่ประมาณ 8-12 ลำต่อกอ ให้แต่ละลำมีความห่างกันพอประมาณสัก 20 – 30 เซนติเมตรโดยประมาณ โดยลำแม่ใหม่จะสามารถให้หน่อได้มากอ หน่อใหม่จะมีขนาดใหญ่สมบูรณ์กว่าเดิม
*** ต้นไผ่บงหวานจะเริ่มให้ผลผลิตได้ดีเมื่ออายุเช้าสู่ปีที่ 2 โดยราคาจำหน่ายหน่อจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 30 – 50 บาทตลอดทั้งปี เน้นการจำหน่ายตลาดชุมชนเป็นหลัก ตลาดมีความต้องการไผ่บงหวานเป็นอย่างมาก ติดใจในรสชาติทุกคน อย่างที่สวนสรภพจะเก็บหน่อทกๆวัน โดยผลผลิต 1 ไร่ จะเก็บหน่อไผ่บงหวานได้เฉลี่ยวันละ 15 – 20 กิโลกรัม โดย 3 ไร่ ก็จะมีหน่อไม้เก็บราว 45 – 60 กิโลกรัมต่อวัน หากจำหน่ายกิโลกรัมละ 50 บาท ก็จะได้เงินราว 2,250 – 3,000 บาทต่อวัน แต่ผลตอบแทนจะมากหรือน้อยนั้นมักจะขึ้นอยู่กับการดูแลของเราว่าเอาใจใส่ไผ่ ของเรามากน้อยเพียงใด

การปลูกไผ่บงหวาน(สวนเพชรน้ำผึ้ง) การ ปลูกไผ่เพื่อขายหน่อจัดเป็นรูปแบบเกษตรกรรมอินทรีย์และปลอดสารพิษ  เนื่อง จากมีการใช้สารเคมีน้อยมากหรือไม่ใช้เลย  นอกจากนั้นการปลูกไผ่ยังช่วยลดโลก ร้อนได้ดี กว่าต้นไม้หลายชนิด  อย่างกรณีของคุณวรรณบดีและคุณลำ พึง  รักษา เจ้าของสวนไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง  บ้านเลขที่ 91 หมู่ 4 ต.แม่ จั๊ว อ.เด่นชัย จ.แพร่ 54110 โทร. 087-838-7334 และ 083-266-3096เริ่มต้น จากการปลูกถั่วฝักยาว และมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ไม้ไผ่ทำค้างจะต้องซื้อ ไม้ไผ่เป็นประจำทุกปี  จึงคิดจะปลูกไผ่เพื่อนำไม้ไผ่มาทำค้างและคิดหาพันธุ์ มาปลูกและเป็นพันธุ์ที่ขายหน่อได้ด้วย

เริ่ม ต้นคุณลำพึงจึงได้ต้นพันธุ์ไผ่บงหวานที่ จ. เชียงใหม่มาปลูกเมื่อมีหน่อปรากฏว่าหน่อไม้ไผ่บงหวานขายได้ราคาดี จึงคิดจะขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มเติม และได้ข้อมูลจากพี่สาวว่าแหล่งพันธุ์ของไผ่บงหวานพันธ์ดีอยู่ที่ จ.เลย พบว่าต้นไผ่บงหวานกำลังออกดอกและตายขุยพอดีจึงได้นำเอาเมล็ดไผ่มาปลูก เวลาผ่านไปประมาณ 3 ปี พบว่าต้นไผ่บงหวานที่ได้จากการเพาะเมล็ดนั้น ได้หน่อไม้ที่มีความแตกต่างจากพันธุ์ไผ่บงหวานที่ซื้อมาจาก จ. เชียงใหม่ คือ ขนาดของหน่อใหญ่ หน่อมีสีเขียวอ่อน ในขณะที่หน่อไม้บงหวานจาก จ. เชียงใหม่และที่อื่นๆมีขนาดของหน่อเล็กกว่าและหน่อมีสีเขียวเข้ม นำมาบริโภคดิบได้เหมือนผักสดไม่ขมติดลิ้นและไม่ต้องต้มน้ำทิ้ง
++ คุณสมบัติเด่นของหน่อไม้ไผ่บงหวาน ++
หลังจากที่คุณลำพึงผลิตหน่อไม้ไผ่บงหวานออกจำหน่าย ผลปรากฏว่า ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ด้วย ลักษณะเด่นอยู่ที่หน่อไผ่มีรสชาติไม่ขมสามารรถกินเป็นหน่อไม้ดิบเหมือนผักสด และไม่ขมติดลิ้นเหมือนหน่อไม้ไผ่พันธุ์อื่นๆ นำไปประกอบอาหารได้หลากหลาย อาทิ ต้มจิ้มน้ำพริก ผัดน้ำมันหอย ชุบแป้งทอดและต้มจืดกระดูกหมูเป็นต้น คุณ ลำพึงยังได้บอกถึงเทคนิคในการบริโภคไผ่บงหวานให้ได้รสชาติอร่อยจะต้องต้มน้ำ ให้เดือดแล้วค่อยใส่ไผ่บงหวานลงไปในน้ำเดือดนาน 5-7 นาทีเท่านั้น นำมารับประทานได้เลยโดยไม่ต้องต้มน้ำทิ้ง
**ลักษณะพันธุ์ไผ่บงหวานของสวนไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง จากที่กล่าวมาแล้วในข้างต้นว่าพันธุ์ไผ่บงหวานที่คุณลำพึงขยายพื้นที่ปลูก และผลิตหน่อขาย ในปัจจุบันได้จากการเพาะเมล็ดจากต้นไผ่บงหวาน จ. เลย ที่เริ่มเพาะมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 สรุปลักษณะประจำพันธุ์เป็นไผ่ขนาดกลาง ลำต้นเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่มีความสูงเฉลี่ย 7- 12 เมตร หน่อที่เก็บจากต้นที่เจริญเติบโตเต็มที่จะมีน้ำหนัก 4-5 หน่อต่อกิโลกรัม

++ การขยายพันธุ์ไผ่บงหวาน สวนเพชรน้ำผึ้ง ++ วิธีการขยายพันธุ์ไผ่ของสวนไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง เป็นที่สังเกตว่าคุณลำพึงจะมีการขยายพันธุ์ไผ่บงหวาน 2 วิธี คือ
1. ขยายพันธุ์แบบใช้เหง้า จะได้ต้นไผ่ที่เจริญเติบโตและให้ผลเร็ว คือ นำไปปลูกจะใช้เวลาเพียง 6 เดือน จะเริ่มขุดหน่อขายได้ในพื้นที่ปลูกที่มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ เหง้าที่แยกมาเพาะลงถุงชำจะใช้เวลานานประมาณ 1 เดือน รากจะขยายเต็มถุง ขายต้นละ 30 บาท แต่ถ้าเลี้ยงจนกอใหญ่ขึ้นราคาขายจะสูงขึ้นเป็นกอละ 99 บาท เมื่อนำไปปลูกใช้เวลาเพียง 6 เดือน สามารถขุดหน่อขายได้
2. การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด เป็นอีกแบบหนึ่งซึ่งนักขยายพันธุ์ไผ่ไม่นิยมปฏิบัติกัน เนื่องจากใช้เวลานานมากกว่าจะได้หน่อ คือ การเพาะเมล็ด ที่มองดูคล้ายกับเม็ดข้าวสาร โดยจะเริ่มจากเก็บเมล็ดไผ่บงที่แก่จัด(สังเกตได้ว่าเมล็ดๆ ไผ่ที่แก่จัดจะร่วงลงสู่พื้น) นำไปหว่านเพาะในกระบะที่ใช้ดินร่วนปนทรายผสมปุ๋ยคอกและขี้เถ้าแกลบคลุกให้ วัสดุร่วนซุย รดน้ำให้ชุ่ม 7-10 วัน เมล็ดก็จะเริ่มงอก จากนั้นราว 1 เดือน ให้ย้ายลงปูกในถุงดำเพื่ออนุบาล จนต้นกล้าไผ่แข็งแรงหากบางท่านกลัวจะเสียเวลาย้ายกล้าก็สามารถเพาะกล้าในถุง ดำได้เลย ซึ่งหลังจากเพาะเมล็ดและนำไปปลูกลงแปลงจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี ถึงจะขุดหน่อขายได้ ** แต่ก็มีข้อดีตรงที่ต้นไผ่มีอายุที่ยืนยาวและมีโอกาสออกดอกและตายขุยได้ยาก กว่าการปลูกด้วยเหง้า
++ การปลูกและดูแลรักษาไผ่บงหวาน ++
สำหรับเกษตรกรที่จะเริ่มต้นปลูกไผ่บงเป็นอาชีพ เสริมคุณลำพึงแนะนำให้เริ่มต้นปลูกไผ่บงหวานในพื้นที่ 1 งาน ประมาณ 50 ต้น 1 กอหลังจากแยกเหง้ารากแย่งได้ราว 3-4 ต้นปลูกไปได้ 6 เดือนใช้งอบขุดแซะได้ง่าย รากไม่ใหญ่มากนัก เป็นรากฝอยแผ่กระจายแค่ผิวดิน
พื้นที่ 1 ไร่ปลูกไผ่บงหวานได้ 400 กอ คุณวรรณบดีแนะนำว่าการปลูกไผ่บงหวานนั้น ให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2 เมตร ระหว่างแถว 4 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ปลูกได้ 200 ต้น ที่ให้เว้นระยะระหว่างแถวให้กว้างเพื่อให้เกษตรกรเข้าไปทำงานได้สะดวก เช่นนำขี้เถ้าแกลบเข้าไปใส่ได้ง่าย สำหรับการปลูกก็ไม่ยุ่งยากขุดหลุมปลูกขนาด 50 x 50 x 50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกเก่าหลังปลูกเสร็จรดน้ำให้ชุ่ม คุณวรรณบดียังบอกถึงเคล็ดลับในการปลูกไผ่บงหวานให้ได้ผลผลิตดี ดังนี้ ถ้าปลูกในช่วงฤดูฝนแนะนำให้ปลูกเสมอกับดินเดิมหรือขุดหลุมเป็นแอ่งกระทะ
++ การดูแลรักษา ++
หลังจากปลูกไผ่บงหวานเสร็จจะต้องหมั่นตัดหญ้า ที่สวนไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้งจะมีการให้ปุ๋ยและให้น้ำเฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง ปุ๋ยคอกจะใช้ได้ทั้งขี้วัวเก่าหรือขี้ไก่หรือแม้แต่เศษวัสดุเหลือใช้ทางการ เกษตรใช้ได้หมด เช่น ซังข้าวโพด, กากอ้อย, เปลือกถั่วต่างๆ,กากยาสูบ,ขี้เถ้าแกลบ สิ่งที่มาความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติเป็นประจำทุกเดือนคือ จะต้องมีการสางลำไผ่ขนาดเล็กที่แตกมาจากตาหน่อเก่าหรือแตกมาจากตาบนลำไผ่ เดิมออกโดยใช้มีดพร้าสับออกเลยเพื่อให้ข้างล่างโล่งให้ใบไผ่อยู่ส่วนบนเท่า นั้น เกษตรที่ปลูกไผ่บงหวานใหม่ๆจะมีหน่อเกิดขึ้นข้างในประมาณ 5-6 หน่อ ให้ขุดหน่อข้างในไปบริโภคหรือจำหน่ายได้ ส่วนหน่อที่ออกมานอกกอสามารถเก็บขายได้ พอเมื่อเข้าฝนก็ต้องปล่อยให้หน่อออกกอโตให้มันขึ้นเป็นลำไผ่
**การตัดสินใจเลือกพันธุ์ไผ่ปลูก ** ยังมี คำแนะนำเพิ่มเติมจากคุณลำพึงในการตัดสินใจปลูกไผ่เพื่อผลิตหน่อขาย ถ้าเป็นไปได้ไม่cนะนำให้ปลูกพันธุ์ที่ยังมีในธรรมชาติอย่างเช่น ไผ่ซาง ซึ่งยังพบมากในทางเหนือที่มีความอุดมสมบูรณ์ จะต้องปลูกหน่อไม้ที่มีรสชาติไม่เหมือนกับหน่อไม้ที่หาได้ง่ายจากธรรมชาติ อย่างกรณีของไผ่เลี้ยงก็เช่นกันเป็นที่ทราบกันดีว่าหน่อไผ่เลี้ยงเป็นที่ นิยมและรู้จักบริโภคกันดีในพื้นที่ภาคอีสาน แต่เมื่อนำมาปลูกทางภาคเหนือขายไม่ดีเท่าไผ่บงหวานหรือไผ่หม่าจู(ขมเพียง เล็กน้อย) เป็นต้น ดังนั้นในการคัดเลือกพันธุ์ไผ่ที่จะปลูกจะต้องมองเรื่องการตลาดด้วยว่าตลาด แต่ละพื้นที่มีความต้องการหน่อไม้ประเภทใด
++ ตลาดของไผ่บงหวาน ++
หน่อไผ่บงหวานมีน้ำหนักเฉลี่ย 1-10 หน่อต่อกิโลกรัม คุณลำพึงบอกว่าโดย ทั่วไปแล้วตลาดมีความต้องการหน่อไม้ไผ่บงหวานที่มีขนาดนำหนักของหน่อ 6-8 หน่อต่อกิโลกรัม เนื่องจากเมื่อซื้อเป็นของฝากแล้วจะดูน่าซื้อคือขนาดไม่เล็กเกินไปคุณลำพึง ยังบอกว่าหน่อไม้ไผ่บงหวานมีคุณภาพและรสชาติดีที่สุดเมื่อนำมาบริโภคสดๆ และเร็วที่สุด ถ้าปล่อยทิ้งไว้หลายวันความหวานจะลดลงเช่นเดียวกับข้าวโพดหวาน ดังนั้นการเก็บหน่อไม้ของคุณลำพึงจะมีการขุดขายวันต่อวัน ถึงแม้จะเก็บไว้ในตู้เย็นความหวานก็จะลดลง แต่ถ้าจะเก็บไว้บริโภคนานวันควรจะต้มให้สุกแล้วนำมาแช่แข็งจะดีกว่า
** ปัจจุบันในการส่งขายหน่อไผ่บงหวานของสวนเพชรน้ำผึ้ง จะเก็บในช่วงเวลาเช้า พอช่วงสายๆจะมีพ่อค้ามารับซื้อและตีรถเข้ากรุงเทพมหานครให้ทันเย็น จะขายต่อทันที จะทำให้ยังคงสภาพความหวานไว้ได้ ในขณะที่ถ้าเป็นพันธุ์ที่หน่อมีรสชาติขม ปล่อยทิ้งไว้ข้ามวันจะยิ่งขมขึ้นและเนื้อของหน่อจะแข็ง

การปลูกไผ่สามฤดู กำนัน เสนอ นราพล กำนันตำบลบ้านบัว อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ ผู้ทำการ เกษตรแบบผสมผสาน เชี่ยวชาญในการปลูกไผ่สามฤดู ปลูกครั้งเดียวเก็บผลผลิตได้ ทั้งปี ในพื้นที่ 1 ไร่ ปลูกไผ่ได้กว่า 517 ต้น ลักษณะของไผ่ สามฤดูนั้น ลำ ต้นเล็กเรียว ใบน้อยไม่มีขน ลำต้นตันไม่กลวง หากปลูกนานถึงปีสามารถตัดลำต้น ขายได้ มีประโยชน์หลายอย่าง สามารถนำไปทำเป็นด้ามไม้ใช้สอย เช่นไม้ กวาด  แนวรั้วก็ได้  ซึ่งกำนันเสนอ ได้แนะนำวิธีการปลูกไผ่สามฤดู  ดังนี้
ขั้นตอนแรก
1. เตรียมดิน บำรุงดินให้มีสารอาหารที่ดีด้วยการใส่ปุ๋ยคอก ขี้วัว แกลบเหลือง เศษหญ้าฟาง หมักทิ้งไว้เพื่อช่วยทำให้ดินมีความชุ่มชื่น และเกิดอาหารแก่ดิน
2. ขุดหลุม ขนาด 2 X 2 รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยขี้วัว แล้วนำท่อนไผ่ที่เตรียมไว้มาปลูก หรือจะเป็นต้นที่ตัดตอนมา ที่มีความสมบูรณ์เต็มที่
การใส่ปุ๋ย ไผ่สามฤดูปลูกง่าย จะใส่ปุ๋ยช่วงตอนปลูก กับตอนใกล้จะเก็บผลผลิต โดยใช้ปุ๋ยคอกขี้วัว
การให้น้ำ ไผ่สามฤดู จะรดน้ำ 2 วันรดน้ำ 1 ครั้ง ระยะเวลา 6 เดือนสามารถเก็บผลผลิตได้ ซึ่งรุ่นแรกที่ให้ผลผลิต (หน่อไม้) อาจจะไม่มากนัก แต่หลังจากนั้นสามารถเก็บผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 25-30 บาท
เคล็ดลับทำให้ไผ่สามฤดูออกหน่อมาก คือ ตัดแต่งลำต้น 1 กอ จะตัดลำต้นให้เหลือเพียง 3-4ลำ เพื่อไม่ให้แย่งอาหารกัน 1 กอ จะออกหน่อมากถึง 10-12 หน่อ เลยทีเดียว
ข้อดีของไผ่สามฤดู คือ ลำต้นตัน ไม่กลวง จึงไม่มีปัญหา หนอน แมลง หนู มาเจาะ แทะกินได้แต่มีปัญหาแมลงวันทองมากัดกินหน่อไผ่ และแก้ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านด้วยการทำกับดักแมลงวันทองจากขวดพลาสติก Recycle โดยนำใบกะเพรามาใส่ไว้ในขวด พลาสติก Recycle แล้วนำไปแขวนที่ต้นไผ่ เพื่อล่อแมลงวันทอง หรือนำเอาหัวเชื้อกลิ่นแมลงวันทองชุบสำลี แล้วใส่เข้าไปในขวดเพื่อล่อให้เข้าไปติดกับ

สูตรน้ำหมักชีวภาพ ช่วยบำรุงให้หน่อโตเร็ว ต้นแข็งแรง
วัตถุดิบ
1.หอยเชอร์รี่ 5 กิโลกรัม
2.ขี้ปลา 5 กิโลกรัม
3.กากน้ำตาล 2 กิโลกรัม
4.อีเอ็ม 1 กระป๋องนม
นำมาหมักทิ้งไว้ 2 เดือน สามารถนำมาใช้ได้
อัตราการใช้
น้ำหมัก 2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 20 ลิตร นำมาฉีดรดจะช่วยบำรุงให้หน่อโตเร็ว ต้นแข็งแรง

การปลูกไผ่เลี้ยง…ของคนเลี้ยงไผ่ ภารกิจ ของผู้นำชุมชนร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด จ.เชียงราย วันนี้ได้เดินทาง ไปยังไร่ของคุณไพรัตน์ คำเงิน อยู่บ้านเลขที่ 107 ม.7 ต.ศรีค้ำ อ.แม่ จัน จ.เชียงราย เกษตรกรผู้ปลูกไผ่เลี้ยง คุณไพรัตน์ได้ปลูกไผ่เลี้ยงมาได้ ประมาณ 2 ปีแล้ว ภายในพื้นที่ 7 ไร่ ซึ่งคุณไพรัตน์ กล่าวว่าประสบความ สำเร็จเป็นอย่างดี
พันธุ์ไผ่เลี้ยงที่นำมาปลูกเป็นพันธุ์ที่ได้มาจากจังหวัดฉะเชิงเทรา ปลูก ง่าย ดูแลรักษาง่าย โตไว ผลผลิตสูง ถ้าได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดีสามารถ เก็บผลผลิตได้ตลอดทั้งปี แต่ในช่วงนี้ ส่วนใหญ่แล้วตนจะเก็บผลผลิต ทุกๆ 6 เดือนเพราะพึ่งเริ่มปลูกได้แค่ 2 ปี ต้องการให้ต้นไผ่เลี้ยงโตเต็ม ที่ก่อน จึงสามารถสร้างรายได้ให้แก่ตนเป็นอย่างดี มีการจำหน่ายทั้งหน่อสด ที่ตัดจากต้น และจำหน่ายหน่อไม้แปรรูปเป็นหน่อไม้โป่ง นอกจากนั้นยังเพาะ กล้าพันธุ์ไผ่เลี้ยงออกจำหน่ายอีกด้วย

ขณะ นี้ไผ่เลี้ยงได้เริ่มเป็นที่นิยมของผู้บริโภคมากขึ้น เพราะเป็นไผ่ที่มีรสชาติอร่อย ไม่ขมจัด ปัจจุบันในจังหวัดเชียงรายยังไม่มีผู้ปลูกแพร่หลายมากนัก แต่ผลผลิตก็เป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น เป็นไผ่ที่มีลักษณะพิเศษคือไม่มีหนามหรือขนระคายเคืองเหมือนไผ่ชนิดอื่นๆ ลักษณะคล้ายไผ่สร่างไพร ที่พิเศษกว่านั้น คือ ไผ่เลี้ยงสามารถให้ผลผลิตหน่อไผ่ได้ตลอดทั้งปี สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรทุกวัน ผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมนำมาปรุงอาหาร ดอง หรืออัดปิ๊บ
พันธุ์ไผ่เลี้ยง : มี 2 ชนิด คือ
1.ไผ่เลี้ยงพันธุ์หนัก เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตหน่อได้ตามปกติ คือในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน – สิงหาคม ในช่วงฤดูอื่นก็จะไม่ให้ผลผลิต หรืออาจจะมีบ้างแต่ก็น้อยมาก ถ้าจะนำหน่อไผ่เลี้ยงพันธุ์หนักไปผลิตเป็นหน่อไผ่นอกฤดูหรือต้นฤดูฝนก่อนที่ ผลผลิตหน่อตามฤดูกาลจะออกมา เพื่อที่จะได้จำหน่ายในราคาที่สูงกว่าไผ่ที่ออกตามฤดูกาลนั้น ต้องมีการบำรุงรักษาเป็นอย่างดี และค่อนข้างยาก ต้นทุนสูง ผลผลิตที่ได้ก็น้อยมากไม่คุ้มกับทุน
2.ไผ่เลี้ยงพันธุ์เบา เป็นไผ่เลี้ยงพันธุ์ที่ให้ผลผลิตหน่อไผ่ตั้งแต่ในช่วงฤดูฝนเช่นกัน แต่ไผ่เลี้ยงชนิดนี้สามารถผลิตเป็นหน่อไผ่นอกฤดูกาลได้ดีมาก เพราะมีลักษณะเด่น คือ ปลูกเลี้ยงง่าย บำรุงรักษาง่าย ถ้าได้น้ำ ได้ปุ๋ยดี จะให้ผลผลิตหน่อทันที ไม่ต้องรอถึงช่วงฤดูฝน ผลผลิตที่ได้จะเพิ่มมากขึ้นตามความเอาใส่ใจในการบำรุงรักษา จึงสามารถเก็บผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ฉะนั้น จึงขอแนะนำให้ผู้ที่สนใจจะปลูกไผ่เลี้ยงขายหน่อไผ่ ควรปลูกพันธุ์เบาจะเหมาะมาก
ผลผลิต(หน่อไผ่)จะได้มากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับการเตรียมดินและการเลือก พื้นที่ปลูก ซึ่งถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ก่อนปลูกจำต้องมีการคัดเลือกพื้นที่ให้ดีก่อน สภาพพื้นที่ที่เหมาะสำหรับการปลูกไผ่เลี้ยงนั้น ควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย ถ้าเป็นดินเหนียว หรือดินโคกลูกรัง จะทำให้การเจริญเติบโตไม่ดี การให้ผลผลิตหน่อไผ่น้อย และคุณภาพต่ำ ดังนั้นจึงต้องมีการเตรียมดินก่อนปลูก ด้วยการไถ่กลบหน้าดินทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อกำจัดวัชพืช หลังจากนั้นให้ไถ่อีกครั้งเพื่อปรับสภาพดินให้ร่วนซุยเหมาะแก่การปลูก ระยะห่างในการปลูกที่เหมาะสมคือ ระยะ 4 x 4 เมตร ใน 1 ไร่จะปลูกได้ประมาณ 66 ต้น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับเกษตรกรด้วยว่าจะเว้นระยะห่างเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม เพราะต้องขึ้นอยู่กับเครื่องมือที่ใช้จัดการกับแปลงปลูก และการดูแลรักษาของเกษตรกรเองด้วย ซึ่งของคุณไพรัตน์เองนั้นได้มีการเว้นระยะห่างประมาณ 3×3 เมตร ถือว่าสะดวก และเหมาะสมกับการจัดการกับแปลงปลูกของตนด้วย
การดูแลรักษาไผ่เลี้ยง ทำได้ไม่ยาก เพียงแต่ต้องคอยกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอ อย่าปล่อยให้หญ้าขึ้นรกคลุมแปลงปลูก ในช่วงหน้าแล้งถ้าไม่มีฝนตกควรรดน้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เมื่อปลูกไผ่ได้ประมาณ 7 เดือนแล้ว ควรตัดแต่งกิ่งและลำต้นที่เล็กออก แล้วพรวนดินให้ทั่วรอบกอ ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก กอละประมาณ 5 – 10 กิโลกรัม แล้วนำหญ้าที่ถอนออกมาคลุมโคนต้นไว้ หรืออาจเป็นใบไม้แห้ง,ฟางข้าวก็ได้ เพื่อเก็บรักษาความชื้นในดินไว้ ควรให้น้ำตลอดช่วงฤดูแล้ง เพื่อเร่งการเจริญเติบโต
เมื่อไผ่มีอายุได้ 8 เดือน ขึ้นไปก็จะสามารถให้หน่อได้และเพิ่มจำนวนต้นในแต่ละกอ เพื่อจะได้ปริมาณจำนวนต้นไว้ผลิตหน่อในฤดูต่อไป เมื่อปลูกไผ่เลี้ยงได้ประมาณ 2 ปี ต้องมีการตัดต้นที่แก่และชิดกันออก ให้แต่ละกอเหลือจำนวนต้นอยู่ประมาณไม่เกิน 12 ต้น ควรตัดแต่งกิ่งทุกปีปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม หลังจากตัดแต่งกิ่งเสร็จให้ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก กอละประมาณ 15-20 กิโลกรัม แล้วรดน้ำทันทีเพื่อเร่งให้ได้ผลผลิตในช่วงต้นฤดู ซึ่งจำหน่ายได้ราคาสูง
ลักษณะของหน่อไผ่ที่เหมาะสมต่อการเก็บผลผลิต ต้องรอให้หน่อไผ่พ้นขึ้นมาจากดินประมาณ 4-6 วัน จะมีขนาดประมาณ 40-50 เซนติเมตร จึงจะสามารถตัดได้ มีขนาดพอดีไม่แก่เกินไป ซึ่งคุณไพรัตน์จะจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 8 บาท อาจราคาสูงกว่านี้ในต้นฤดูกาลหรือนอกฤดูกาล นอกจากหน่อไผ่สดที่คุณไพรัตน์จำหน่ายแล้ว หน่อไผ่เลี้ยงยังสามารถแปรรูปเป็นหน่อไม้โป่งขายทั้งในฤดูและนอกฤดูได้อีก ด้วย ซึ่งวิธีการผลิตก็ทำได้ไม่ยาก คือ ต้องนำหน่อไม้มาแซ่น้ำไว้ประมาณ 2 คืน หลังจากนั้นนำออกมาต้มให้สุก ช่วงที่ต้มใส่เกลือปรุงรสเล็กน้อย แล้วนำบรรจุถุงออกจำหน่ายในราคา 3 ขีด 8 บาท มีรสชาติอร่อย และยังสามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน ถ้าใส่ตู้เย็นเก็บไว้ได้ถึง 10 วัน
นอก จากนั้นคุณไพรัตน์ยังได้มีการเพาะพันธุ์ไผ่เลี้ยงไว้จำหน่ายอีกด้วย ซึ่งจำหน่ายในราคาต้นละ 40 -50 บาท มีการเพาะพันธุ์โดยการนำเอาเหง้าของลำต้นไผ่ที่มีอายุประมาณ 1 ปี มาชำลงถุงชำ รดน้ำสม่ำเสมอ ชำไว้ประมาณ 2 เดือนก็สามารถนำออกปลูกหรือนำไปจำหน่ายได้

ไผ่ เลี้ยง เป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้ตลอดทั้งปี ดูแลรักษาง่าย วิธีการปลูกก็ง่ายไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับโรคระบาดต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับต้นไผ่เพราะยังไม่ปรากฏชัดเจน อาจมีปัญหาเรื่องหนอนหรือตัวด้วงบ้างที่มาเจาะกินต้นไผ่ แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่ สามารถกำจัดและดูแลรักษาให้ดีได้ จึงเป็นพืชที่สามารถปลูกร่วมกับการทำการเกษตรกรรมชนิดอื่นๆ ได้ดีมาก สร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

2011 CHINESE CALENDAR GIRLS

จริงๆจะอัพปฏิทินของปี 2012 แต่ก่อนอื่นใดก็จะขอเอาของปีที่แล้วมาให้ดูกันก่อน














2012 CHINESE CALENDAR GIRLS

ไม่รู้ว่าคุณชอบเดือนไหนเป็นพิเศษหรือปล่าว แต่ผมชอบทุกเดือนเลย ชอบปีนี้จัง





 
You